การลดของเสียในกระบวนการเชื่อมชิ้นส่วนกันสะเทือนรถยนต์

Main Article Content

ฉกาจ เชื่อดี
ณัฐกร สร้อยจิตร
ภัทรพงศ์ ดีสกุลวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการลดของเสียในกระบวนการเชื่อมชิ้นส่วนกันสะเทือนรถยนต์       (กระบอกโช้คอัพ (GT- Welding no.1)) ที่มีลักษณะของเสียเกิดเป็นรูพรุนสาเหตุเกิดจากฟองอากาศ และแนวเชื่อมไม่สม่ำเสมอเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ในขั้นตอนการเชื่อม Cap Side Welding ซึ่งคณะผู้วิจัยมุ่งเน้นการปรับปรุงวิธีการทำงานของพนักงาน การเปลี่ยนอุปกรณ์ของเครื่องจักร มาเป็นแนวทางที่ช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการลดของเสียในขั้นตอนการเชื่อม Cap Side Welding และมีเป้าหมายการลดของเสียจากเดิมลง 10 เปอร์เซ็นต์ หรือปริมาณของเสียไม่เกิน 0.1559 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการผลิตในกระบวนการเชื่อมชิ้นส่วน กันสะเทือนรถยนต์

ผลการปรับปรุงโดยการปรับปรุงวิธีการทำงานของพนักงาน การเปลี่ยนอุปกรณ์ของเครื่องจักร เพื่อลดของเสียที่เกิดจากการเชื่อม Cap Side Welding โดยทำการเก็บข้อมูลหลังการปรับปรุง พบของเสียที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 70.60 ชิ้นต่อเดือน หรือประมาณ 71 ชิ้นต่อเดือน หรือคิดเป็น 0.1403 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการผลิตในกระบวนการเชื่อมกระบอกโช้คอัพ (GT- Welding no.1) ซึ่งเป็นไปตามขอบเขตของโครงการที่ตั้งไว้

คำสำคัญ : การลดของเสีย การเชื่อม ชิ้นส่วนกันสะเทือนรถยนต์

 

Abstract

This research studied the reduction of waste in the process of automotive suspension part welding. The defect found in the stage of Cap Side Welding process were porous nature and intermittent welding caused by air bubbles. Changing the employer working ways and modification of mechanical devices were used as guidelines to assist in solving problems to reduce 10 percent of the exist wares or no more than 0.1559 percent of total volume of production per month in the process of shock up tube welding (GT-Welding no.1).

The result of improvement showed that the averages waster were monthly 70.60 parts or 0.1403 percent of the production volume.

Keywords: waste reduction, welding, automotive suspension parts.

Article Details

How to Cite
[1]
เชื่อดี ฉ., สร้อยจิตร ณ., and ดีสกุลวงษ์ ภ., “การลดของเสียในกระบวนการเชื่อมชิ้นส่วนกันสะเทือนรถยนต์”, RMUTI Journal, vol. 7, no. 1, pp. 28–41, Aug. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research article)