การเปรียบเทียบวิธีการกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอม

Main Article Content

ทยาวีร์ หนูบุญ
พลเทพ เวงสูงเนิน
ปรเมศวร์ สุทธิประภา
สนั่น จันทร์พรม
ธวัชชัย จารุวงศ์วิทยา

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอมโดยนำเอาหลักการสถิติมาใช้ในการอธิบายผลและทดสอบสมมติฐาน การศึกษาเป็นการเปรียบเทียบปริมาณของดอกเห็ดหอมโดยน้ำหนักภายใต้สภาวะ 3 สภาวะ ได้แก่ สภาวะที่ไม่มีการกระตุ้น สภาวะที่มีการกระตุ้นโดยการแช่น้ำแข็ง และสภาวะที่มีการกระตุ้นโดยการฉีดละอองน้ำเย็นใส่เห็ด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เห็ดหอมที่ไม่มีการกระตุ้นให้ออกดอกจะมีปริมาณรวม 26.80 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยที่ 7.5 กรัมต่อวันต่อถุง ซึ่งมีค่าต่ำกว่าในกรณีที่มีการกระตุ้น ในกรณีที่ใช้น้ำแข็งในการกระตุ้น จะออกดอกได้ผลผลิตรวมทั้งหมด 37.90 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15.0 กรัมต่อวันต่อถุง ส่วนในกรณีที่มีการกระตุ้นด้วยวิธีการฉีดละอองน้ำเย็น ให้ผลผลิตรวมอยู่ที่ 41.60 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16.5 กรัมต่อวันต่อถุง ในการทดสอบสมมติฐานแสดงได้ว่าการกระตุ้นให้เห็ดออกดอกด้วยการลดอุณหภูมิทั้ง 2 วิธีมีผลทำให้ปริมาณของดอกเห็ดแตกต่างเมื่อเทียบกับแบบไม่กระตุ้น แต่การกระตุ้นด้วยการลดอุณหภูมิทั้งสองวิธียังไม่ช่วยให้การออกดอกของเห็ดหอมมีค่าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

คำสำคัญ: เห็ดหอม, การกระตุ้นการออกดอกเห็ดหอม, การควบคุมอุณหภูมิ, สถิติ, การทดสอบสมมติฐาน

Abstract

This research aims to analyze the effect of stimulating the shiitake productivity using the descriptive statistics and hypothesis testing. The study is a comparison of the amount of shiitake by weight under three conditions: The normal condition, the productivity stimulating by cooling water and the stimulation by spraying. The result shows, the normal condition cause sum of yield is 26.80 kg and productivity rate is 7.5 g/day. Unit, which is lower than the stimulated case. In the cooling water, the production is 37.90 kg and productivity rate is 15.0 g/day. Unit. In the case of stimulation by spraying of the water, yield is 41.60 kg and productivity rate is 16.5 g/day. Unit. Hypothesis testing shows that the shiitake stimulate by reducing the temperature of the two approaches difference yield which compared to none stimulated. However, stimulation with decreasing temperature, both methods does not show difference yield. It requires increased data to be used in further statistical analysis.

Keywords: shitake, shitake stimulated, temperature control, statistics, hypothesis testing.

Article Details

How to Cite
[1]
หนูบุญ ท., เวงสูงเนิน พ., สุทธิประภา ป., จันทร์พรม ส., and จารุวงศ์วิทยา ธ., “การเปรียบเทียบวิธีการกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอม”, RMUTI Journal, vol. 7, no. 1, pp. 80–88, Aug. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research article)