การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบผสมผสานในนาข้าวอินทรืย์ ภาคตะวันออก เฉืยงเหนือ : ผลกระทบต่อผลผลิตข้าว และระบบนิเวศนาข้าว Integrated Culture of Giant Freshwater Prawn (Macrobrachium rosengergii) in Organic Rice Field, Northeast Thailand: Impact on Rice Production

Main Article Content

สำเนาว์ เสาวกล
ปราณีต งามเสน่ห์
กฤติมา เสาวกล
สมาน จงเทพ
สมศักดิ์ ระยัน

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ การประเมินผลของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามผสมผสานใน นาข้าวอินทรีย์ต่อผลผลิตข้าว ผลผลิตกุ้งก้ามกราม และผลกระทบต่อระบบนิเวศนาข้าวในแปลง ทดลอง 3 กลุ่มทดลอง ได้แก่ แปลงทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างเดียวในระบบอินทรีย์ (T1) การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวอินทรีย์ (T2) และการปลกข้าวอย่างเดียวในระบบอินทรีย์ (T3) ดำเนินการทดลองในพนทปลูกข้าวอินทรีย์ทจังหวัดสุรินทร์เป็นระยะเวลา 4 เดือน (กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2550) ผลการทดลองพบว่า แปลงนาที่ปล่อยกุ้งก้ามกราม (T2) ในอัตรา 3 ต้ว/ตาราง เมตร ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 240.50+27.58 กิโลกรัมต่อแปลง สูงกว่าผลผลิตข้าวของแปลง ที่ปลกข้าวอินทรีย์อย่างเดียว (T3) ที่มีผลผลิต 186.00+14.14 กิโลกรัมต่อแปลง ซี่งคิดเป็นส่วนต่างที่เพื่มขึ้นประมาณ 50.13 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตของกุ้งที่เลี้ยงนาข้าวอินทรีย์ (T2) เท่ากับ 75.34+ 6.45 กิโลกรัมต่อแปลง สูงกว่าผลผลิตกุ้งในระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว (T1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ผลิตได้ 39.51+9.15 กิโลกรัมต่อแปลง

ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืซมีค่าสูงที่สุดในแปลงที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าว (T2) ระบบอินทรีย์อย่างเดียว (T1) เท่าก้บ 298.76 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และ แปลงนาข้าวระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว (T3) เท่าก้บ 245.0 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำตับ ส่วนความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์มีค่าตาที่สุด ในบ่อเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าว (T2) คือ 130.01 ตัวต่อลกบาศก์เมตร สูงขึ้นเป็นลำดับต่อมา ได้แก่ นาข้าวอย่างเดียวระบบอินทรีย์ (T3) เท่ากับ 225.00 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และแปลงที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างเดียวในระบบอินทรีย์ (T1) เท่ากับ 298.76 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณาผลของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต่อค่าดัชนีความหลากหลายของสัตว์หน้าดินเฉลี่ยในนาข้าวพบว่า มีแนวโน้มของความสัมพันธ์ในเชิงลบ กล่าวคือ ในแปลงทดลองที่ปลูกข้าวอย่างเดียว (T3) จะมีค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุดเท่ากับ 1.58+0.21 รองลงมา ได้แก่ แปลงทดลองที่มีการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าว (T2) เท่ากับ 1.38+0.16 และการเลี้ยงกุ้งอย่างเดียว (T1) เท่ากับ 0.93+0.43 ตามลำดับ ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ โดยพิจารณาจากสัดส่วนรายได้/รายจ่าย (B/C ratio) พบว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว (T1) , การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวอินทรีย์ (T2) และการเลี้ยงข้าวอินทรีย์เพียงอย่างเดียว (T3) มีค่า B/C ratio เท่ากับ 1.05, 1.44 และ 1.26 ตามลำดับ

คำสำคัญ : กุ้งก้ามกราม; นาข้าวอินทรีย์; ระบบนิเวศนาข้าว

Abstract

Rice production, prawns (Macrobrachium rosengergii) production, ricefield environment, and the economic return of rice and prawn were studied in an experiment conducted at an organic rice-prawn station in Surin Province, Thailand. In total 3 treatments with 3 replicates were conducted in experimental plots; (Tj) Prawn only plot, (T,) Rice-prawn plot and Rice only plot (T3). After four month of the study period under the controlled organic rice protocol, ricefields with prawn (TJ produced significantly higher paddy yield (240.50±27.58 kg/plot) than rice only plot (T3) (186.00±14.14 kg/plot). This difference was calculated 50.13% The higher prawn yield (75.34+6.45 kg/plot) was obtained by stocking prawns integrated in the ricefields (T,),than 39.51± 9.15 kg/plot of the prawn only plot (TJ. The average population numbers of phytoplankton were 308.14, 298.76 and 245.00 individuals/m3 found in T,, T1 and T3 respectively. Zooplankton abundance were found lower in presence of prawns in the plots, 130.01individuals/m3 was found in prawn only plot, (T,), whereas 225.00 individuals/m3 and 298.76 individuals/m3 were observed in (T3) and T1 plots respectively. The presence of prawn resulted in a significant (P<0.05) reduction of the Diversity index of benthic fauna; 1.58±0.21 for T3, 1.38±0.16 for T, and 0.93±0.43 for T1 plots respectively. Analysis of the economic performance indicated that integration of prawns in organic ricefields enable to increases the benefit-cost ratio (B/C ratio) from 1.05, to 1.44 and 1.26 respectively.

Keyword : Giant Freshwater Prawn; Organic Ricefield; Ricefield Ecosystem


Article Details

How to Cite
[1]
เสาวกล ส., งามเสน่ห์ ป., เสาวกล ก., จงเทพ ส., and ระยัน ส., “การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบผสมผสานในนาข้าวอินทรืย์ ภาคตะวันออก เฉืยงเหนือ : ผลกระทบต่อผลผลิตข้าว และระบบนิเวศนาข้าว Integrated Culture of Giant Freshwater Prawn (Macrobrachium rosengergii) in Organic Rice Field, Northeast Thailand: Impact on Rice Production”, RMUTI Journal, vol. 3, no. 2, pp. 46–62, Jan. 2014.
Section
Research article