ศึกษาลวดลายไม้แกะสลักล้านนาเพื่อการออกแบบของที่ระลึกจากวัสดุไม้ผล ทางการเกษตร

Main Article Content

พรพจน์ หมื่นหาญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะเฉพาะของลวดลายไม้แกะสลักล้านนา เพื่อออกแบบ ของที่ระลึกจากวัสดุไม้ผลทางการเกษตร 2) ออกแบบของที่ระลึกจากวัสดุไม้ผลทางการเกษตร 3) ประเมินผลความพึงพอใจของที่ระลึกจากวัสดุไม้ผลทางการเกษตร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ไนการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรมล้านนา และลวดลาย งานไม้แกะสลัก จำนวน 3 ท่าน ผู้ผลิตงานหัตถกรรมไม้แกะสลักในหมู่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ซื้อสินค้าชาวไทยในหมู่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประกอบกับวัสดุตัวอย่าง แบบสอบถามประกอบกับภาพจำลอง และต้นแบบ นำข้อมูล มาวิเคราะห์โดยการบรรยาย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยสรุปว่า ศิลปหัตถกรรมไม้แกะสลักที่ช่างถ่ายทอดลวดลายลงบนเนื้อไม้มี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของหัตถกรรมพื้นบ้าน และรูปแบบศิลปกรรมล้านนา ช้างและลายกนกล้านนาสามารถสื่อสาร ถึงเอกลักษณ์ของล้านนามากขึ้น ด้านวัสดุไม้ผลทางการเกษตรที่นำมาใช้ทดแทนและเหมาะสมกับงานไม้ แกะสลักมากที่สุดก็คือ ไม้ขนุน รองลงมาคือ ไม้กระท้อน และไม้มะม่วง ตามลำดับ ด้านความต้องการ รูปแบบของที่ระลึก คือ นาฬิกาคิดเป็นร้อยละ 31.1 ในการออกแบบรูปแบบที่ 1 มิค่าเฉลี่ยในด้าน ความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย และด้านเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมีภาพรวมมากที่สุด สิ่งที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบ คือ ควรผลิตได้รวดเร็วและไม่ยากเกินไปมีขนาดที่สะดวกต่อการพกพา

คำสำคัญ : ไม้แกะสลักล้านนา, ของที่ระลึก, วัสดุไม้ผลทางการเกษตร

 

Abstract

This research aims to study the characteristics of the wood carving patterns over "Lanna" period and design souvenir from agricultural fruit tree wood, evaluate customer satisfaction on souvenir.

The samples used in this study were; three art experts which specialize in Lanna artistic and decorative wood carving, Jix people in the production of handicrafts, wood carving in Tawai village in Chiang Mai provinc, and 61 consumers in Tawai village. Instruments used in the research are interview, evaluation of the material sample, questionnaire with scenarios and prototypes. The data were analyzed by descriptive, evaluate percentage average and standard deviation.

The study revealed that arts and crafts of wood carving transferred the pattern onto the wood split into two types which are "Folk art handicraft & Lanna art", Elephant and Kanok patterns offer a unique ability to communicate more and more. Agricultural fruit trees where are the most suitable material to replace carving wood are Jack fruit wood, Santol wood and Mango wood respectively. The form of a most requested souvenir is clock with 31.1%, In the design, Pattern of first style is an over all average in the beauty, the functionality and local identity. In the design the pafters should be made quickly and not too difficult, convenient to carry.

Keyword : wood carving Lanna, souvenir, agricultural fruit wood

Article Details

How to Cite
[1]
หมื่นหาญ พ., “ศึกษาลวดลายไม้แกะสลักล้านนาเพื่อการออกแบบของที่ระลึกจากวัสดุไม้ผล ทางการเกษตร”, RMUTI Journal, vol. 5, no. 1, pp. 64–74, Jan. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research article)