การศึกษาและพัฒนาเครื่องเรือน จากการประยุกตํใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่อง จักสานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน

Main Article Content

ประทักษ์ คูณทอง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาและพัฒนาเครื่องเรือน จากการประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน มีวัตฤประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่น อีสาน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องเรือนที่ประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่น อีสาน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเรือนจากการประยุกต์ใช้ลวดลายในการออกแบบ เครื่องเรือน

วิธีการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครื่องมือ โดยแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามตามวัตฤประสงค์ คือ 1) แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการศึกษาการประยุกต์ใช้ลวดลายจากหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน จำนวน 5 ท่าน 2) แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญขั้นตอนการประยุกต์ใช้ลวดลายจากหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้าน ท้องถิ่นอีสาน ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องเรือน จำนวน 5 ท่าน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ จากกลุ่มผู้จำหน่ายเครื่องเรือนหวายที่มีต่อรูปแบบเครื่องเรือนจากการประยุกต์ใช้ลวดลายจากหัตถกรรม เครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเซิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

คำสำคัญ : เครื่องเรือน, ศิลปหัตถกรรม, ลวดลาย, ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น

 

Abstract

The purposes of this research were to 1) study patterns of Esan weave handicraft 2) design and develop furniture from Esan weaving handicraft 3) evaluate producer satisfaction regarding to furniture design from Esan weaving handicraft.

Researcher conducts this research by dividing questionnaire's respondents according to the research's objectives 1) questionnaire about study patterns of Esan weaving handicraft from 5 specialists 2) questionnaire about steps of patterns design and develop furniture from Esan weaving handicraft from 5 specialists 3) satisfaction assessment about furniture from Esan weaving handicraft from 25 Suppliers. The statistical procedures employed in the data analysis included Mean and Standard deviation.

Keyword : Furniture, Art and Crafts, Pattern, Locality

Article Details

How to Cite
[1]
คูณทอง ป., “การศึกษาและพัฒนาเครื่องเรือน จากการประยุกตํใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่อง จักสานพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน”, RMUTI Journal, vol. 5, no. 1, pp. 53–63, Jan. 2014.
Section
Research article