แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักสูตรระยะสั้นของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดตาก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักสูตร ระยะสั้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดตาก กลุ่มประชากรที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดตาก ในปีการศึกษา 2550 จำนวนทั้งสิ้น 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาตามหลักสูตรระยะสั้นของสถาน ศึกษาในภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดการศึกษาหลักสูตร ระยะสั้น 2) ปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักสตรระยะสั้นของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการวางแผน การจัดการศึกษาหลักสตรระยะสั้น 3) แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักสูตรระยะสั้นของสถานศึกษา ด้านการวางแผนการ ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ของสังคม ชุมชน และท้องถี่นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้านการดำเนินงาน ควรมีการนำหลักสูตร ระยะสั้น (ฉบับร่าง) ไปทดลองใช้ ด้านการประเมินผล มีการประเมินเอกสารหลักสูตร ภาษาที่ใช้ว่ามีความ สอดคล้องเหมาะสม สื่อให้เข้าใจและมีความชัดเจนในการนำไปสู่ การปฏิบัติหรือไม่ ด้านการปรับปรุง มีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นฉบับที่ผ่านการปรับปรุงแล้วให้สมบูรณ์
คำสำคัญ : การพัฒนาการจัดการศึกษา, หลักสูตรระยะสั้น, สถานศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศีกษาจังหวัดตาก
Abstract
The purposes of this research were to study the conditions, the problems and the development guidance of school’s short term curriculum under Tak the office of vocational education commission. The samples consisted of 149 administrators and teachers under Tak the office of vocational education commission in the academic year 2007. The research instruments were a questionnaire and interview. The data was analyzed using percentage, mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1) The condition of schools’ short term curriculum perspective and each aspect was considered in high level in planning. 2) The problem of schools’ short term curriculum perspective and under each aspect was considered in medium level in planning. 3) The development guidance of schools’ short term curriculum were as follows ะ For planning, it was found that schools should analyze community’s data. For the operation, it schools should try out the curriculum. For the evaluation, it schools should evaluate curriculum document. For the improvement, it schools should complete the improved curriculum.Keywords : Educational Development, Short Term Curriculum, TAK the Office of Vocational Education Commission