การพัฒนาหสักสูตรฝึกกอบรมเพื่อสร้างจิตพิสัยการอนุรักษ์พสังงาน Development of Training Curriculum to Raise Affective Domain in Energy Conservation

Main Article Content

วิชิต สุทธิพร

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างหลักสูตรปีกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพี่อเพํ่มระดับจิตพิสัยการ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สายช่างอุตสาหกรรม สังกัดคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย และได้สร้างแบบสอบถามที่มีค่าความเซี่อมั่นเท่ากับ

0.95 เพี่อหาระดับจิตพิสัยการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาทั่วประเทศ จากตัวอย่างจำนวน 996 คน เพี่อนำมาออกแบบและสร้างหลักสูตร ผลการวิเคราะห์ระดับจิตพิสัย มีค่าปานกลาง (x- 3.36 ) ซึ่งประกอบด้วย ความสนใจ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีระดับความสนใจมาก (x- 3.51) เจตคติปานกลาง (x - 3.28 ) และพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าปานกลาง (x = 3.29) ความสนใจกับเจตคติและความสนใจ กับพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยลัมประสิทธึ๋สหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) เท่ากับ 0.279 และ 0.314 ตามสำคับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันน้อย และมีทิศทางเดียวกัน เจตคติกับพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระคับ 0.01 สัมประสิทธึ๋สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.572 มีความสัมพันธ์กันปานกลาง และมีทิศทางเดียวกัน การออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการเพี่มเจตคติการอนุรักษ์ พลังงานไฟฟ้าให้สูงขึ้น โดยกล่าวถึงความต้องการพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้า ภาวะโลกร้อน ราคาพลังงานไฟฟ้า การใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครองใช้ไฟฟ้า เพี่อนำไปสู่พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า จากการนำ หลักสูตรไปปีกอบรมให้กับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จำนวน 28 คน โดยมีระคับจิตพิสัยการอนุรักษ์ พลังงานไฟฟ้าก่อนเข้ารับการปีกอบรมเท่ากับ 3.61 ประกอบด้วยความสนใจเท่ากับ 3.80 เจตคติเท่ากับ 3.48 และพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 3.62 หลังการปีกอบรมมีระคับจิตพิสัยเท่ากับ 4.14 ความสนใจ เท่ากับ 4.17 เจตคติเท่ากับ 4.10 และพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 4.18 โดยที่หลักสูตรมีประสิทธิภาพ 80.76/88.92

คำสำคัญ : หลักสูตร; จิตพิสัย; อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

Article Details

How to Cite
[1]
สุทธิพร ว., “การพัฒนาหสักสูตรฝึกกอบรมเพื่อสร้างจิตพิสัยการอนุรักษ์พสังงาน Development of Training Curriculum to Raise Affective Domain in Energy Conservation”, RMUTI Journal, vol. 1, no. 1, pp. 41–49, Jan. 2014.
Section
Research article