การจัดตารางการทำงานเพื่อลดต้นทุนแรงงานของบริษัทผลิตภัณฑ์ ปลากระป๋องสยามจำกัด จังหวัดสตูล ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดตารางการทำงานของพนักงานโดยการมอบหมายให้พนักงานลงกะการเข้างานเพื่อให้มีต้นทุนในการจ้างพนักงานต่ำที่สุด และนำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการทำงานของพนักงานด้วยกำหนดการเชิงจำนวนเต็ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดจำนวนวันหยุดของพนักงาน และมอบหมายให้พนักงานลงกะการเข้างานภายใต้เงื่อนไขการทำงานต่าง ๆ และภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนด ในงานวิจัยนี้จะศึกษาตัวแบบทางคณิตศาสตร์ 2 ตัวแบบ โดยตัวแบบที่ 1 จะใช้หาจำนวนพนักงานที่น้อยที่สุดที่ใช้ในการทำงาน และตัวแบบที่ 2 จะใช้เพื่อจัดตารางการทำงานของพนักงานแต่ละคนลงกะการเข้างานโดยใช้โปรแกรม Scilab ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนพนักงานของบริษัทและลดต้นทุนค่าจ้างของพนักงานในบริษัท นอกจากนี้ยังมีการจัดตารางการทำงานของพนักงานคนแต่ละคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในบริษัทอีกด้วย
Article Details
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
เถลิงศรี ศรทรง. (2526). การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในแต่ละเวร โดยใช้ความต้องการพยาบาลเป็นพื้นฐานของหน่วยผู้ป่วยอายุรศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชภาควิชาพยาบาลศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราเมศ ชุติมา. (2555). เทคนิคการจัดตารางการดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิพร ศรีไพโรจน์. (2558). การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิตเพื่อลดต้นทุนแรงงาน. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โยธิญา โยธี, และรตี โบจรัส. (2562). การสร้างแบบจำลองตารางงานของพยาบาลด้วยกำหนดการเชิงจำนวนเต็มกรณีศึกษา: โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 7(2), 20-29.
Agyei, W., Obeng-Denteh, W., & Andaam, E. A. (2015). Modeling nurse scheduling problem using 0-1 goal programming: a case study of Tafo Government Hospital, Kumasi-Ghana. International Journal of Scientific and Technology Research, 4, 5-10.
Jenal, R., Ismail, W. R., Yeun, L. C., & Oughaline, A. (2011). A cyclical nurse schedule using goal programming. ITB Journal of Science, 43, 151-164.
Widyastiti, M., Aman, A., & Bakhtiar, T. (2016). Nurses scheduling by considering the qualification using integer linear programming. Telkomnika, 14, 933–940.