Study of Particulate Dusts in Phuket Municipality, Phuket Province
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับฝุ่น TSP PM10 และ PM2.5 และเสนอแนะแนวทางการจัดการฝุ่นละอองในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยติดตั้งเครื่อง High volume air sampler ใช้วิธีการตรวจวัดตามระบบกราวิเมตริก ตามมาตรฐานการเก็บตัวอย่างของ U.S.EPA Code of Federal Regulation, Part 50 และตามมาตรฐานของประเทศไทยคือ กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม จากสถานที่เก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในอากาศ ได้แก่ วงเวียนสุริยเดช วงเวียนนิมิตร วงเวียนสุรินทร์ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ และสวนสาธารณะสะพานหิน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – เดือนมกราคม 2564 ผลการศึกษาปริมาณฝุ่นละอองในเขตเทศบาลเมืองนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทั้ง ฝุ่น TSP มีค่าเฉลี่ย 0.0329 mg/m3 PM10 มีค่าเฉลี่ย 0.0329 mg/m3 และ PM2.5 มีค่าเฉลี่ย 0.0329 mg/m3 พบว่า มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในเวลา 24 ชั่วโมง ตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ ส่วนแนวทางการจัดการฝุ่นละอองในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ควรดำเนินการทั้งการป้องกันและการควบคุม เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลเสียหายและผลกระทบ
Article Details
- The original content that appears in this journal is the responsibility of the author excluding any typographical errors.
- The copyright of manuscripts that published in PKRU SciTech Journal is owned by PKRU SciTech Journal.
References
[2] กรมควบคุมมลพิษ. (2564). คุณภาพอากาศในพื้นที่บริเวณ ณ ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ปี 2564. [ออนไลน์], สืบค้นจาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php. (15 กุมภาพันธ์ 2564).
[3] สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) (ฉบับทบทวนรอบปี 64). ออนไลน์], สืบค้นจาก https://www.phuket.go.th/webpk/ contents.php?str=plan (23 ตุลาคม 2563).
[4] Kumlom, T. & Choocherd, C. (2020). Quantity of Particalate TSP and PM10 in Cafeteria area Phuket Rajabhat University, Thailand using the High Volume air sampler. (page 66 - 78). International Conference Sharing interlocal adaptation lessons: Climate Change Adaptations and Development in East and Southeast Asia Vietnam Institute of Economics (VIE). Vietnam.
[5] สิริพร อุยสุย. (2553). การตรวจวัดการกระจายของฝุ่นละอองในอากาศในเขตพื้นที่บริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการวิจัย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
[6] วราวุฒิ ดวงศิริ, สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์, และณิชา ประสงค์จันทร์. (2561). องค์ประกอบของฝุ่นละอองในอากาศบนถนนทะเลหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 12(2), 26 - 39.
[7] ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบ และแนวทางการจัดการ PM2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(1), หน้า 461 – 474.