ระบบแนะนำการเข้าใช้ฟิตเนสด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบการสร้างกฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษา Body GYM Phuket (ตำบลรัษฎา อำเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต)

Main Article Content

มัลลิกา รอดมี
สุการดาร์ ขนานใต้
วิภาวรรณ บัวทอง
ทิพย์มณฑา ผกาแก้ว

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดโปรโมชั่นให้ลูกค้า และแนะนำเครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กรณีศึกษา Body GYM Phuket โดยใช้หลักการการทำเหมืองข้อมูลในรูปแบบกฎความสัมพันธ์ แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หรือวัตถุที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลจากความต้องการของลูกค้าในการใช้บริการฟิตเนส จำนวน 1,099 คน เป็นเวลา 3 เดือน ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความต้องการใช้บริการเครื่องออกกำลังกายในแต่ละประเภท และนำเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลรูปแบบการสร้างกฎความสัมพันธ์มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า เช่น เพศ อายุ และวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกาย พบว่ากฎความสัมพันธ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเหมาะสมที่สุดของงานวิจัยนี้ คือ 0.35 หมายความว่า ค่าความเชื่อมั่นจากข้อมูลลูกค้าในแต่ละชุดของงานวิจัยชิ้นนี้ เท่ากับ 35% ของจำนวนรายการทั้งหมด และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 หมายความว่า ค่าความเชื่อมั่นในกฎความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยต้องการกฎความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ 85% ของกฎความสัมพันธ์ทั้งหมด ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่นิยมเลือกเล่นจักรยานนั่งปั่นและลู่วิ่งไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเพศหญิง ในช่วงอายุ 26 - 30 ปี มากที่สุด ผู้วิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชันให้ข้อมูลที่ได้จากการคำนวณทางเทคนิคเหมืองข้อมูลสำหรับเตรียมเครื่องเล่นที่ได้รับความนิยมให้เพียงพอ หรือจัดโปรโมชั่นได้ตามความเหมาะสมและตรงกับความต้องการลูกค้า หรือสามารถจัดโปรโมชั่นตามหลักการตลาดสำหรับอุปกรณ์การออกกำลังกายประเภทอื่นที่มีความนิยมน้อยกว่าเปิดโอกาสให้มีการหมุนเวียนการใช้งานเครื่องออกกำลังกายในทุกประเภทได้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
รอดมี ม., ขนานใต้ ส., บัวทอง ว., & ผกาแก้ว ท. (2020). ระบบแนะนำการเข้าใช้ฟิตเนสด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบการสร้างกฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษา Body GYM Phuket (ตำบลรัษฎา อำเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต). PKRU SciTech Journal, 4(1), 13–21. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/240313
Section
Research Articles

References

จิราภา พึ่งบางกรวย. (2550). กลยุทธ์การตลาดของฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 6(2), 26-37.

กชกร การเพียร ปรียา เจริญรัมย์ และวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2561). ระบบส่งเสริมการขายวัสดุก่อสร้างด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. [ออนไลน์], สืบค้นจาก ttps://dspace.bru.ac.th/xmlui/

handle/123456789/4755 (5 มิถุนายน 2562).

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจฟิตเนส บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน พฤษภาคม 2562. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201905.pdf (5 มิถุนายน 2562).

เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา. (2557). ขั้นตอนการหากฏความสัมพันธ์ (Association Rules). [ออนไลน์], สืบค้นจาก http://dataminingtrend.com/2014/association-rules/ (5 พฤษภาคม 2562).

Bouckaert, R. R., Frank, E., Hall, M., Kirkby, R., Reutemann, P., Seewald, A., & Scuse. D. (2013). WEKA Manual for Version 3-7-8. Hamilton: University of Waikato.

วิภาวรรณ บัวทอง. (2557). Association Rule. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://wipawanblog. files.wordpress.com/2014/06/chapter-4-association-rule.pdf (5 พฤษภาคม 2562).