การสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมลู่กรีฑาขนาด 200 เมตร

Main Article Content

อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการสร้างสนามกรีฑาประเภทลู่ขนาด 200 เมตร และสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สำหรับคำนวณระยะต่อกรีฑาประเภทลู่ขนาด 200 เมตร  การวิจัยนี้เป็นการสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสนามกรีฑาและคำนวณระยะต่อขนาดสนาม 200 เมตร จำนวน 8 ช่องวิ่ง โดยมีวิธีการดำเนินการดังนี้ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสนามกรีฑาและสร้างแบบจำลองสนามกรีฑาขนาด 200 เมตร 2) กำหนดและสร้างคำศัพท์เฉพาะในแบบจำลองสนามกรีฑา 3) วิเคราะห์แบบจำลองสนามกรีฑา 4) ประยุกต์และแปลงข้อมูลเป็นสูตรการคำนวณและ 5) สร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์  จากการวิจัยพบว่า แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สามารถใช้สร้างสนามกรีฑาและคำนวณระยะต่อได้รวดเร็วและยืดหยุ่น โดยใช้สูตรการคำนวณแกนหลักของสนาม สูตรการหารัศมีทางวิ่งจริง สูตรการหาระยะทางวิ่งที่เป็นทางโค้ง สูตรการหาระยะทางวิ่ง 1 รอบสนาม สูตรการหาระยะทางวิ่งและระยะต่อประเภทวิ่ง 100 เมตร, 200 เมตร, 400 เมตร, 800 เมตร, วิ่งผลัด 4X100 เมตร, วิ่งผลัด 4X200 เมตร และวิ่งผลัด 4X400 เมตร

Article Details

How to Cite
จิรวัฒนพาณิช อ. (2018). การสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมลู่กรีฑาขนาด 200 เมตร. PKRU SciTech Journal, 1(1), 19–26. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/156638
Section
Research Articles

References

[1] ธีรวัฒน์ นาคะบุตร. (2546). แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
[2] รังสฤษฏิ์ บุญชะลอ. (2541). กรีฑา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท.
[3] สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ และคณะ. (2546). กรีฑา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
[4] ฝ่ายวิชาการสกายบุ๊กส์. (2554). กรีฑา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำกัด.
[5] ฟอง เกิดแก้วและคณะ. (2524). กรีฑา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโอ เอส พริ้นติงเฮาส์.
[6] อุทัย สงวนพงศ์. (ม.ป.ป.). กรีฑา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์จำกัด.