การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำแข็งและสภาพสุขาภิบาลร้านค้าขายปลีก ร้านขายเครื่องดื่ม บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำแข็งและสภาพสุขาภิบาลร้านค้าขายปลีกและร้านขายเครื่องดื่ม บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ น้ำแข็งจากร้านค้าขายปลีกและร้านขายเครื่องดื่ม บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 33 ร้าน ร้านละ 1 ตัวอย่างดำเนินการทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำรวจสภาพสุขาภิบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพสุขาภิบาลกับการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล ร้านค้าขายปลีก ผ่านมาตรฐานดีมาก 6 ร้าน (18.18 %) ผ่านมาตรฐานดี 11 ร้าน (33.33 %) ร้านขายเครื่องดื่มผ่านมาตรฐานดีมาก 4 ร้าน (12.12 %) ผ่านมาตรฐานดี 12 ร้าน (36.36 %) ไม่มีร้านใดที่ไม่ผ่านมาตรฐาน พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของร้านค้าขายปลีก 6 ร้าน (18.18 %) ร้านขายเครื่องดื่มพบการปนเปื้อน 10 ร้าน (30.30 %) การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียมีความสัมพันธ์กับสภาพสุขาภิบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่า น้ำแข็งสำหรับบริโภคจากร้านค้าขายปลีกและร้านขายเครื่องดื่มบางร้าน บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ผู้ประกอบการควรมีการดำเนินการปรับปรุงด้านสภาพสุขาภิบาลที่ดี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
Article Details
- The original content that appears in this journal is the responsibility of the author excluding any typographical errors.
- The copyright of manuscripts that published in PKRU SciTech Journal is owned by PKRU SciTech Journal.
References
[2] อินทรชัย พาณิชกุล. (2558). น้ำแข็งปนเปื้อน ความจริงอันน่าสะพรึงของผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559, จาก http://www.posttoday.com /local/
scoop_bkk/358344
[3] กรมอนามัย. (2558). ผลไม้แช่น้ำแข็งไม่สะอาดเสี่ยงท้องร่วง แนะใช้พลาสติกรองป้องกัน. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559, จาก http://www.ana-mai.moph.go.th/ mobile_detail.php?cid=76&nid=7993
[4] สำนักพัฒนาระบบข่าวสารสุขภาพ. (2557). ระวังเชื้อก่อโรคในน้ำแข็ง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จากhttp://www.hiso.
or.th/hiso5/healthy/news2.php?names=04&news_id=5194
[5] คณะสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา, 2550. (2550). ตะลึง!พบรง.ผลิตน้ำดื่ม-น้ำแข็งโคราชปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มสูงลิ่ว. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2559, จาก http://www.manager. co.th/Qol/ ViewNews.aspx?NewsID= 9500000102324
[6] กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย. (2553). แบบตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับสถานที่จำหน่ายอาหาร. สืบค้นเมื่อ16 กันยายน 2559, จากhttp://www.foodsanitation.bangkok.go.
th/foodsanitation/File/document
[7] ปิยะนุช จงสมัคร, จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์ และสุนีย์ เตชะอาภรณ์กุล. (2557). การสำรวจความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์ของน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายในโรงอาหารและตลาดนัด มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ภาควิชาชีวะเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
[8] สมเกียรติ มณีผ่อง. (2556). การสำรวจสภาวะสุขาภิบาลอาหารเพื่อจัดอันดับมาตรฐาน ร้านอาหารในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
[9] นภาพร โอณะวัตร, มยุรี วงค์นัทธี และกุลวรรณ โสรัจจ์. (2558). การศึกษาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำแข็ง และมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารจากร้านค้าแผงลอย ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.