การพัฒนาเครื่องรับรู้สำหรับตรวจวัดพฤติกรรมหินโรยทางรถไฟ

Main Article Content

กฤษดา ชีโนวัง
พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมชั้นหินโรยทางรถไฟ ในอดีตได้ประเมินพฤติกรรมความเค้นและความเครียดของวัสดุโดยอาศัยวิธีการทางตัวเลขของสมการเชิงประจักษ์ ซึ่งผลทีได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้ไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีการตรวจวัดพฤติกรรมด้วยการติดตั้งเครื่องมือทดสอบในสนามเพื่อประเมินพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะใช้งานแต่การตรวจวัดพฤติกรรมนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการรับ-ส่งข้อมูลและการที่เครื่องมือทดสอบส่งสัญญาณผ่านสายจะทำให้เครื่องมือตรวจวัดขาดอิสระการเคลื่อนตัวซึ่งทำให้การตรวจวัดพฤติกรรมมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีเป้าประสงค์ในการสร้างเครื่องมือการตรวจวัดที่แม่นยำและสามารถอธิบายพฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน โดยเครื่องมือตรวจวัดต้องมีลักษณะเสมือนอนุภาคหินโรยทางจำลองที่สามารถตรวจวัดพฤติกรรมและส่งข้อมูลที่ได้ไปยังฐานข้อมูลเพื่อประมวลผลด้วยเทคโนโลยีไร้สายสามารถวัด ความเค้น และการเคลื่อนตัว ได้ในขณะเดียวกัน ผลจากการศึกษาวิจัย สามารถสร้างต้นแบบของเครื่องวัดดังกล่าวได้ โดยใช้การตรวจวัดความเค้นด้วย Flex Sensor รุ่น RP-S40-ST ตรวจวัดการเคลื่อนตัวด้วย Gyro Sensor รุ่น GY-521 (MPU6050) และประมวลผลด้วย ไมโครคอนโทรเลอร์ รุ่น Wemos D1 mini ที่สามารถส่งสัญญาณแบบไร้สายได้ และใช้วงจรแผ่นพิมพ์เพื่อลดขนาดของเครื่องตรวจวัด ซึ่งเมื่อมีการเชื่อมต่อพบว่าเครื่องตรวจวัดสามารถใช้งานได้จริงและส่งข้อมูลที่ตรวจวัดได้ไปยังฐานข้อมูลบน google platform

Article Details

How to Cite
ชีโนวัง ก., & จิตเสงี่ยม พ. . (2020). การพัฒนาเครื่องรับรู้สำหรับตรวจวัดพฤติกรรมหินโรยทางรถไฟ . วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 136–147. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/242665
บท
Research Paper

References

Blanc, J., Hornych, P., Duong, N. S., Blanchard, J.-Y., & Nicollet, P. (2017). Monitoring of an experimental motorway section. Road Materials and Pavement Design, 20(1), 74-89. https://doi.org/10.1080/14680629.2017.1374997

Boonsue, J. (2011). Basic Knowledge of Rail Engineering. Phangthai Part.

Duong, N. S., Blanc, J., & Hornych, P. (2016). Instrumentation of an Innovative Pavement Section on Motorway A10. In J. Aguiar-Moya, A. Vargas-Nordcbeck, F. Leiva-Villacorta, & L. Loría-Salazar (Eds.), The Roles of Accelerated Pavement Testing in Pavement Sustainability (pp. 701-714). Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-319-42797-3_46

Stith, J. C. (2004). Pressure Measurements in Railroad Trackbeds at the Rail/Tie Interface Using Tekscan Sensors (Corpus ID: 53496627) [Master’s thesis]. Semantic Scholar.

Unland, G., & A-Khasawneh, Y. (2009). The influence of particle shape on prmeters of impact crushing. Minerals Engineering, 22(3), 220-228. https://doi.org/10.1016/j.mineng.2008.08.008

Zhang, X., Zhao, C., & Zhai, W. (2019). Importance of load frequency in applying cyclic loads to investigate ballast deformation under high-speed train loads. Soil Dynamics and Earthquake Engineering, 120, 28-38. https://doi.org/10.1016/j.soildyn.2019.01.023