ปัจจัยและประสิทธิภาพของวัสดุต้านทานการเกิดคาร์บอเนชั่นของคอนกรีต กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

บัญญัติ วารินทร์ใหล
ปิติศานต์ กร้ำมาตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยและประสิทธิภาพของวัสดุต้านทานต่อการเกิดคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตในสภาวะแวดล้อมจริง จังหวัดนครปฐม โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.45, 0.55 และ 0.65 ใช้สีและปูนฉาบเป็นวัสดุต้านทานต่อการเกิดคาร์บอเนชั่นของคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่าความลึกคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตที่ทาสีและคอนกรีตที่ฉาบปูนมีค่าน้อยกว่าของคอนกรีตเปลือยล้วน ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตเปลือยล้วนพบว่าคอนกรีตที่ทาสีและคอนกรีตที่ฉาบปูนช่วยให้ค่าสัมประสิทธิ์คาร์บอเนชั่นลดลง 75% และ 60% ตามลำดับ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ทำให้ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของอัตราเร็วการเกิดคาร์บอเนชั่นอันเนื่องมาจากการทาสี ( ), ค่าสัมประสิทธิ์ของอัตราเร็วการเกิดคาร์บอเนชั่นอันเนื่องมาจากปูนฉาบ ( ) และค่าสัมประสิทธิ์ของอัตราเร็วการเกิดคาร์บอเนชั่นอันเนื่องมาจากสีที่ผิวปูนฉาบ ( ) โดยผลที่ได้สามารถนำมาใช้ในการออกแบบ วางแผนดูแลรักษาโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมคาร์บอเนชั่นในสภาวะแวดล้อมจริง จังหวัดนครปฐมต่อไปได้

Article Details

How to Cite
วารินทร์ใหล บ., & กร้ำมาตร ป. . (2021). ปัจจัยและประสิทธิภาพของวัสดุต้านทานการเกิดคาร์บอเนชั่นของคอนกรีต กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 67–78. https://doi.org/10.14456/nuej.2021.23
บท
Research Paper

References

American Society for Testing and Materials. (2004). Standard Practice for Petrographic Examination of Hardened Concrete. ASTM C 856: Annual Book of ASTM Standards, United States of America.

Cengiz, D. A. (2003). Accelerated carbonation and testing of concrete made with fly ash. Construction and Building Materials, 17(3), 147–152.

Department of Highways. (2017, February 22). Traffic Volume. https://www.data.go.th/dataset/item_4be8c846-a4db-4ec4-99dd-59688b9e0dea (in Thai)

Fattuhi, N.I. (1986). Carbonation of concrete as affected by mix constituents and initial water curing period. Materiaux et Constructions, 19(2), 131-136.

Khunthongkeaw, j., Tangtermsirikul, S., & Leelawat, T. (2006). A study on carbonation depth prediction for fly ash concrete. Construction and Building Materials, 20(9), 744-753.

Miguel, A. S. & Cesar, D. O. (2000). Carbonation resistance of one industrial mortar used as a concrete coating. Building and Environment, 36(8), 949-953.

RILEM Committee CPC-18. (1988). Measurement of hardened concrete carbonation depth. Material and Structure, 21(126), 453-458.

Roy, S.K., Poh, K.B., & Northwood, D.O. (1996). Effect of plastering on the carbonation of a 19-year-old reinforced concrete building. Construction and Building Materials, 10(4), 267-272.

Roy, S.K., Poh, K.B., & Northwood, D.O. (1999). Durability of concrete accelerated carbonation and weathering studies. Building and Environment, 34(5), 597-606

Warinlai, B., & Krammart, P. (2014). A study of carbonation depth of concrete in real environment of Nakhon Pathom Province. The 10th Annual Concrete Conference, Thailand Concrete Association, (pp. mat 313-319). (in Thai)

Warinlai, B. & Krammart, P. (2017) Basic properties and carbonation of concrete replaced with different binders. SWU Engineering Journal, 13(1), 27-38. (in Thai)