การศึกษาผลของมวลรวมหยาบชนิดต่างๆ ที่มีต่อพฤติกรรมการหดตัวของคอนกรีต

Main Article Content

Saranagon Hemavibool

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของมวลรวมหยาบชนิดต่างๆ ที่มีต่อพฤติกรรมการหดตัวของคอนกรีต มวลรวมหยาบที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวน 4 ชนิด ประกอบด้วย หินบะซอลต์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หินแกรนิตจากภาคตะวันออก หินปูนจากภาคกลาง และหินกรวดแม่น้ำจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณพื้นที่ติดริมแม่น้ำโขง ปัจจัยที่พิจารณาในการศึกษาประกอบด้วย ความหนาแน่น ร้อยละการดูดซึมน้ำ และโมดูลัสความยืดหยุ่นของหิน จากนั้นทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพของมวลรวมหยาบที่มีต่อพฤติกรรมการหดตัวของคอนกรีตทั้งการหดตัวแบบออโตจีนัสและการหดตัวแบบโดยรวม ส่วนผสมคอนกรีตที่ใช้ในงานวิจัยนี้ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสาน มีอัตราส่วนระหว่างน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/b) เท่ากับ 0.35 และ 0.55 จากผลการทดสอบพบว่าชนิดของหินที่นำมาผสมคอนกรีตมีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันและมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการหดตัวของคอนกรีตทั้งแบบออโตจีนัสและแบบโดยรวม ค่าการหดตัวของคอนกรีตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามค่าความหนาแน่นของหินและค่าร้อยละการดูดซึม แต่ในทางกลับกันค่าการหดตัวของคอนกรีตมีแนวโน้มลดลงเมื่อค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นของหินมีค่าสูงขึ้น 

Article Details

How to Cite
Hemavibool, S. (2018). การศึกษาผลของมวลรวมหยาบชนิดต่างๆ ที่มีต่อพฤติกรรมการหดตัวของคอนกรีต. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 163–170. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/141429
บท
Research Paper

References

[1] Tarun R. N., Rudolph N. K. and Yoon-moon C. (2006). Effect of different types of aggregates on autogenous and drying shrinkage of concrete, in: 1st International Conference on Advanced Construction Materials (147-160). Monterrey, Mexico.

[2] Fujiwara, T. (2008). Effect of aggregate on drying shrinkage of concrete. Journal of Advanced Concrete Technology, 6, No. 1, 31-44.

[3] Kwan A. K. H., Fung W. W. S. and Wong H. H. C. (2010). Reducing drying shrinkage of concrete by treatment of aggregate. Magazine of Concrete Research, 62, No. 6, 435–442.

[4] Kwan A. K. H., Au F. T. K., Wong H. H. C. and Ng P. L. (2010). Shrinkage of Hong Kong granite aggregate concrete. Magazine of Concrete Research, 62, No. 2, 115–126.

[5] Zhang W., Zakaria M. and Hama Y. (2013). Influence of aggregate materials characteristics on the drying shrinkage properties of mortar and concrete. Construction and Building Materials, 49, 500-510.

[6] Jensen O. M. and Hansen P. F. (2001). Water-entrained cement-based materials I. Principles and theoretical background. Cement and Concrete Research, Vol. 31, 647-654.

[7] Kovler, K. and Jensen, O. M. (2005). Novel techniques for concrete curing – New method for low w/cm mixtures. Concrete International, 39-42.

[8] Imamoto, K. and Arai, M. (2008). Simplified evaluation of shrinkage aggregate based on BET surface area using water vapor. Journal of Advanced Concrete Technology, 6, No. 1, 69-75.