เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าในประเทศไทย โดยใช้วิธี Analytic Hierarchy Process (AHP)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีการพัฒนาการเชื่อมต่อรูปแบบการขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสถานีขนส่งสินค้าของภาครัฐเพียงสามแห่งตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และยังไม่สามารถลดต้นทุนโดยรวม ของการขนส่งสินค้าลงได้ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาและก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าเพิ่มเติมตามเมืองภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น โดยในปี พ.ศ.2535 องค์กร JICA[1] ของประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของสถานีขนส่งสินค้าทั้งสามแห่งโดยให้น้ำหนักของปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย ด้วยน้ำหนักคะแนนที่เท่ากัน ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่นการมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่ง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงของพื้นที่ต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อให้ได้ปัจจัยในการคัดเลือกตำแหน่งที่ตั้งอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนภาคการขนส่ง การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการวิเคราะห์เพื่อทบทวนจำนวนและชนิดของปัจจัยให้มีความครอบคลุมปัจจัยใหม่ๆ ที่สำคัญ โดยการวิเคราะห์เพื่อหาค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย ผ่านการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และ (Analytical Hierarchy Process, AHP) เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย และยังได้อธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์การให้คะแนนพื้นที่ทางเลือกตำแหน่งที่ตั้งของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่ทางเลือก ต.บึงพระ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นพื้นที่ทางเลือกที่มีความเหมาะสมในการคัดเลือกเป็นสถานที่ในการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้า ในกรณีใช้จังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่ศึกษา
Article Details
References
[2] Office of Transport and Traffic Policy and Planning Ministry of Transport. (2010). “Intermodal Facilities” Chiang Saen District and Chiang Khong of Chiang Rai Province. (In Thai)
[3] Department of Land Transport. (2015). “Feasibility Study and Management Model of Regional Truck Terminal in Thailand.” Bangkok. (In Thai)
[4] Nareerat Pothikun. (2005). “Applying Analytic Hierarchy Process (AHP) to Warehouse Location Selection” Master. Science (Logistics Management), Graduate School of Chulalongkorn University, Bangkok (In Thai)
[5] Charnwet Haripai. (2006). “Site Selection of Water Fright Transportation Terminal Construction by Fuzzy Multiattribute Decision Making Method. Master of Engineering Thesis in Civil Engineering, Graduate School, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)
[6] Warin Wongmanee, Wanchai Ratanavong. (2006). “Study of Location Suitability Distribution Center Indochina Intersection of Phitsanulok Province” Seminar of Thai Value Chain Management and Logistics. (In Thai)
[7] Phatchari Nimsrikul. (2009). “Application of Multiple Criteria Decision Making for Selecting the Freight Logistics Hubs in Thailand on the Economic Corridors” Master of Engineering (Industrial Engineering) of Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai)
[8] Sivalai PimolLikitroek, Nanthawan Leamprecha. (2013). “Study on Rice Logistics Center Site Selection of Nakhon Sawan Province” Master of Science (Logistics and Supply Chain) Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)
[9] Chuthamat Inkaew. (2013). Analysis of location selection factors: The case study of SS Timber Ltd., Surat Thani Province. University of the Thai Chamber of Commerce, Bangkok, (Thailand). (In Thai)
[10] Bahadır Fatih Yildirim, Emrah Önder. (2014) “Evaluating Potential Freight Villages in Istanbul Using Multi Criteria Decision Making Techniques” School of Business, Department of Quantitative Methods, Istanbul University, Istanbul, Turkey.
[11] E. Mirzaei, Y. Minatour, H. Bonakdari, A. A. Javadi. (2015) “Application of Interval-valued Fuzzy Analytic Hierarchy Process Approach in Selection Cargo Terminals, a Case Study” International Journal of Engineering IJE TRANSACTIONS C: Aspects Vol. 28, No. 3, 387-395.
[12] Guy, E. and Urli, B. (2006) Port Selection and Multicriteria Analysis: An Application to the Montreal-New York Alternative. Maritime Economics and Logistics 8[2], 169-186.
[13] Kumar, S. and Vijay, R. (2002) An Analysis of intermodal carrier selection criteria for Pacific-rim imports to New England. Journal of Transportation Management 13[1], 19-28.
[14] Lu Qing, Mark Goh, Miti Garg. (2012) Robert de Souza The Logistics Institute-Asia Pacific, National University of Singapore, Singapore 119613.
[15] Kwok Hung Lau, Tu Li. (2012) Supply Chain Networks, Collaborations and Culture Competition and Collaboration:a Tale of Two Ports in China ,School of Business IT and Logistics RMIT University Melbourne Australia 3000.