การประยุกต์ใช้แผนภาพการไหลของข้อมูลเพื่อการจัดการข้อมูลในหน่วยงานประปา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้นำแนวคิดทางด้านโลจิสติกส์มาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลในหน่วยงานประปา ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากการสร้างแบบจำลองกระบวนการด้วยแผนภาพการไหลของข้อมูล (ดีเอฟดี) ทั้งระดับ 1 และแผนภาพย่อยระดับ 2 ซึ่งในหน่วยงานมี 6 กระบวนการหลัก ได้แก่ 1) การออกคำสั่งปฏิบัติงาน 2) การผลิตน้ำประปา 3) การซ่อมบำรุง 4) การคิดค่าน้ำประปา 5) การสรุปผลการดำเนินงาน และ 6) การจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์
จากการวิเคราะห์ระบบ ดีเอฟดีถูกนำมาปรับปรุงใหม่ พบว่าระบบควรได้รับการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเก็บและบันทึกข้อมูล 2) การส่งต่อข้อมูล และ 3) การประมวลผลข้อมูลและการใช้ประโยชน์ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอการปรับปรุงกระบวนการเก็บข้อมูลภาคสนาม การบันทึกข้อมูลให้เป็นรูปแบบดิจิตอล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอผลลัพธ์ใหม่ที่มีผลต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวทางในการประเมินน้ำสูญเสีย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของน้ำสูญเสีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ยังสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานอื่นได้โดยที่ข้อมูลไม่สูญหาย สะดวก และรวดเร็ว ทั้งนี้ผู้ใช้งานทุกท่านเห็นด้วยกับการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลและกระบวนการ อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมมากต่อหน่วยงาน ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.48 และ 4.41 ตามลำดับ
This research conceptualized the logistics management for development of data management in the waterworks section, the case study in Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. It aimed to propose the guideline of improved process in order to increase service efficiency. The process model was developed and presented as the Data Flow Diagram (DFD) consisted of Level-1 and Level-2 diagrams. It was found that there are 6 processes in this section: 1) work order 2) producing of water supply 3) maintenance 4) calculation for water usage charge 5) performance report for waterworks section and 6) purchasing of materials and tools.
According to the analysis of overall system, the new Level-2 diagram was proposed and three processes were suggested to be improved: 1) database system 2) data forwarding and 3) data processing and utilization. Researchers developed a technique of data collection based on digital file and introduced the new results such as the guideline for water loss evaluation, an opportunity cost of water loss etc. These data are useful for efficiency improvement. As a result of development of data management, the output obtained from the improved processes will be clear and useful. In addition, the data or output can easily be forwarded to other sections to avoid data loss. On the other hand, all users completely agreed to those suggestions. The evaluation results presented that the improved data management and process were very useful for the waterworks section with the scores of 4.48 and 4.41, respectively.
Article Details
References
สำนักโลจิสติกส์. (2557). โลจิสติกส์ (Logistics) คืออะไร. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2559. จาก http://www.logistics.go.th
พนิดา พานิชกุล, การพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วย UML, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เคทีพี, 2552.
ประธาน ด่านสกุลเจริญกิจ, ทวิร พานิชสมบัติ และ โชคชัย ภัทรมาลัย (2556). แผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559. จาก http://www.swpark.or.th/sdlcproject/index.php/14-sample-data-articles/87-2013-08-09-08-39-48
รัชนี กัลยาวินัย และ อัจฉรา ธารอุไรกุล, การวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัทการศึกษา, 2545.
ปฏิพัทธ์ จันทร์รุ่งเรือง, “การพัฒนาระบบจัดการงานซ่อมบำรุงผ่านทางอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา: หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,” บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553.
ณฐรัช คงวัจนะ, “การลดเวลาค้นหาเอกสารการซ่อมบำรุงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาโรงงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักงานฐานรากตัวอย่าง,” บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553.
อาทิตย์ อยู่เย็น, “ระบบการจัดการเก็บค่าน้ำประปาองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา: องค์บริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ จังหวัดชุมพร,” บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 2553.
พลอยภัสสรณ์ เปลี่ยนปาน และ ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์, “ศึกษาสภาพและปัญหาการทำงานในกระบวนการโซ่อุปทานภายในองค์กร เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจ ขององค์กรโดยรวมสนับสนุน: กรณีศึกษา บริษัท ABC (ประเทศไทย) จำกัด,” วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(1), 95-105, 2558.