การคัดแยกทางหลวงชนบท โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์

Main Article Content

kitipong praphananurak

Abstract

กรมทางหลวงชนบทได้กำหนดแบ่งประเภททางหลวงชนบททั่วประเทศ ออกเป็น 6 ประเภท ตามหน้าที่การให้บริการและตามรูปทรงเรขาคณิต อย่างไรก็ตามยังมีถนนเดิมที่ก่อสร้างไปแล้วอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกคัดแยกออกเป็นประเภทต่างๆอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดแยก ให้สอดคล้องตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการใช้งาน เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจออกแบบด้านเรขาคณิตให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยทำการหาค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัยที่ใช้เป็นเกณฑ์การคัดแยกทางหลวงชนบท ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากกรมทางหลวงชนบทด้วยการใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าค่าถ่วงน้ำหนักรวมของปัจจัยด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจรต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของ (1) ถนนทางหลวงชนบท มีค่าเท่ากับ 59.50 ต่อ 40.50 (2) ถนนในเขตชุมชนเมือง มีค่าเท่ากับ 58.50 ต่อ 41.50 (3) ถนนเพื่อการท่องเที่ยว มีค่าเท่ากับ 52.50 ต่อ 47.50 (4) ถนนชมทิวทัศน์ มีค่าเท่ากับ 32.60 ต่อ 67.40 (5) ถนนบนดอยหรือพื้นที่สูง มีค่าเท่ากับ 31.10 ต่อ 68.90 (6) ถนนโลจิสติกส์ มีค่าเท่ากับ 71.80 ต่อ 28.20 และค่าถ่วงน้ำหนักสูงที่สุดของปัจจัยรองสำหรับถนนแต่ละประเภท (1) ถนนทางหลวงชนบท มีค่าปัจจัยโครงข่ายเพื่อการขนส่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เท่ากับ 0.241 (2) ถนนในเขตชุมชนเมือง มีค่าปัจจัยโครงข่ายเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน เท่ากับ 0.226 (3) ถนนเพื่อการท่องเที่ยว มีค่าปัจจัยโครงข่ายเพื่อนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยว เท่ากับ 0.338 (4) ถนนชมทิวทัศน์ มีค่าปัจจัยโครงข่ายที่มีคุณค่าทิวทัศน์เชิงธรรมชาติ เท่ากับ 0.219 (5) ถนนบนดอยหรือพื้นที่สูง มีค่าปัจจัยโครงข่ายเพื่อการขนส่งพืชทางเกษตร/สินค้า เท่ากับ 0.425 และ (6) ถนนโลจิสติกส์ มีค่าปัจจัยโครงข่ายที่มีปริมาณจราจรรถบรรทุก เท่ากับ 0.254 เมื่อนำเกณฑ์การคัดแยกทางหลวงชนบท มาทำการประยุกต์ใช้กับสายทางของทางหลวงชนบทก็พบว่าสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบด้านเรขาคณิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์การคัดแยกทางหลวงชนบทที่มีอยู่ในความรับผิดชอบได้

Article Details

How to Cite
praphananurak, kitipong. (2015). การคัดแยกทางหลวงชนบท โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. Naresuan University Engineering Journal, 10(2), 17–28. https://doi.org/10.14456/nuej.2015.8
Section
Research Paper