การออกแบบและสร้างต้นแบบฟิกซ์เจอร์ของเครื่องกลึงสำหรับงานทำร่องลิ่ม

Main Article Content

Saowalak Tongklin

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและสร้างต้นแบบฟิกซ์เจอร์ของเครื่องกลึงสำหรับงานทำร่องลิ่มบนเพลา  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มความสามารถให้กับเครื่องกลึง (Universal lathe machine) โดยสามารถกัดร่องลิ่มบนเพลากลมได้  ให้กับสถานประกอบการอู่ซ่อมเครี่องจักรกลทางการเกษตรขนาดเล็ก   ในการทดลองได้ติดตั้งต้นแบบฟิกซ์เจอร์นี้บนป้อมมีดของเครื่องกลึงยี่ห้อ MASHSTROY รุ่น C11MT เพื่อจับยึดชิ้นงานเพลาตัวอย่าง แล้วทำการกัดร่องลิ่มขัดบนชิ้นงานเพลาตัวอย่างนั้น  โดยใช้ดอกกัด End mill  ขนาด 8 mm  แล้ววัดขนาดร่องลิ่มขัดบนชิ้นงานเพลาตัวอย่างเทียบกับค่าพิกัดเผื่อสำหรับร่องลิ่มขัดแบบแท่งตามมาตรฐาน DIN 6885-1(1968-08)  แบบ A และงานสวมตามระบบ DIN ISO 286-2(1990-1)N9    พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดร่องลิ่มขัดบนชิ้นงานเพลาตัวอย่าง  มีค่าความกว้าง b, ความลึก t1 และความยาว l   คลาดเคลื่อนจากช่วงค่าพิกัดเผื่ออยู่ที่ +0.118,  -0.056  และ 0.000 mm  ตามลำดับ  โดยต้นทุนรวมทั้งหมดของต้นแบบฟิกซ์เจอร์นี้อยู่ที่ 11,532 บาท จะต้องกัดร่องลิ่มขัดนี้จำนวน 77 หน่วยชิ้นงาน จึงจะคุ้มทุน และใช้ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 45 วัน

Article Details

How to Cite
Tongklin, S. (2015). การออกแบบและสร้างต้นแบบฟิกซ์เจอร์ของเครื่องกลึงสำหรับงานทำร่องลิ่ม. Naresuan University Engineering Journal, 10(2), 9–15. https://doi.org/10.14456/nuej.2015.7
Section
Research Paper
Author Biography

Saowalak Tongklin, Naresuan University

Industrial Engineering