แบบจำลองวิเคราะห์การไหลหลากของแม่น้ำกับการวางแผนคลองผันน้ำเพื่อลดอุทกภัย กรณีศึกษาแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สมบัติ ชื่นชูกลิ่น

Abstract

การวิเคราะห์การไหลหลากและชลศาสตร์หน้าตัดการไหลของน้ำในแม่น้ำ และบนพื้นที่น้ำท่วมถึงด้วยแบบจำลองHEC-RAS ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิศวกรรมอุทกวิทยา สหพันธ์วิศวกรแห่งสหรัฐอเมริกา  (Hydrologic Engineering Center: HEC, US Army Corps of Engineers) ได้นำมาใช้ในการจำลองการไหลของน้ำและการไหลหลากในลำแม่น้ำป่าสัก เพื่อประกอบการวางแผนบรรเทาปัญหาอุทกภัยในท้องที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ โดยการจำลองการไหลแบบคงตัวและไม่คงตัวเอกมิติด้วยข้อมูลสภาพน้ำจากสถิติที่มีอยู่ แล้วนำผลที่ได้จากการจำลองไปวางแนวคลองผันน้ำอ้อมชุมชน ประกอบการจัดแผนยุทธศาสตร์การจัดการบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว ที่มักประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากเป็นประจำ เนื่องจากยังไม่มีแหล่งเก็บน้ำที่พอเพียงทางตอนบนของพื้นที่ลุ่มน้ำ ในการศึกษาได้นำการสังเคราะห์เส้นชั้นความสูงของพื้นที่จากการแปลภาพถ่ายระยะไกล และจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูง เพื่อกำหนดทิศทางการไหลหลากและวางแนวคลองผันน้ำ เนื่องจากข้อมูลเดิมมีอยู่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาจากแบบจำลองการไหลในลำน้ำป่าสักหลังมีคลองผันน้ำด้วยอัตรา 50 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะทำให้ที่พื้นที่ชุมชนเมืองเพชรบูรณ์ลดระดับน้ำท่วมสูงสุดลงได้จากระดับเดิม 1.23, 0.98, และ 0.49 เมตร โดยจำนวนวันที่ถูกน้ำท่วมขังลดลงจากเดิม 18, 8, และ 30 วัน เป็น 0, 0, และ 17วัน เมื่อเทียบกับข้อมูลน้ำท่วมในปี พ.ศ.2540 (รอบการเกิด 4.5 ปี), พ.ศ.2544 (รอบการเกิด 5.4 ปี), และพ.ศ.2545 (รอบการเกิด 15.3 ปี) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ชื่นชูกลิ่น ส. (2014). แบบจำลองวิเคราะห์การไหลหลากของแม่น้ำกับการวางแผนคลองผันน้ำเพื่อลดอุทกภัย กรณีศึกษาแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. Naresuan University Engineering Journal, 1(1), 9–18. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/26311
Section
Research Paper