วิธีการและปัญหาของการทำนาข้าวในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

มัทนี สงวนเสริมศรี

Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจวิธีการปลูกข้าว อุปกรณ์ เครื่องจักรกลที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของการปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยได้ทำการสำรวจในปีการเพาะปลูก 2546-2548 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ จำนวน 492 ครัวเรือน ผลการสำรวจพบว่าเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 26 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาปีละหนึ่งครั้ง และปลูกด้วยวิธีหว่านน้ำตม พันธุ์ข้าวที่นิยมใช้ คือ ชัยนาท และสุพรรณบุรี 1 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 740 กิโลกรัมต่อไร่ เครื่องจักรกลเกษตรที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ เครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคท่อขนาด 8 นิ้ว รถไถเดินตามประเภทบีบเลี้ยว ขนาด 8-11.5 แรงม้า และเครื่องพ่นสารเคมีชนิดใช้เครื่องยนต์แบบสะพายหลัง ตามลำดับ ปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาราคาปุ๋ย ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาราคาสารเคมี  ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และปัญหาราคาน้ำมัน ตามลำดับ

 

Method and Problems of Rice Cultivation in the Lower North region of Thailand

The objectives of this research are to study field operations, equipments, machines as well as problems and tasks involved with rice cultivation in the Lower North region of Thailand. Field survey was conducted in 6 provinces: Nakhon Sawan, Pichit, Kamphaeng Phet, Sukothai, Uthai Thani, and Phetchabun, in 2003 – 2005, with 492 households included. It was found that the average holding area was 26 rai/household (4 ha/household). And most farmers cultivated paddy only one crop a year by means of broadcasting. The most cultivated  grain varieties are Chainat and Suphan Buri 1. The average seed broadcasting rate was 30 kg/rai (190 kg/ha) with 750 kg/rai (4600 kg/ha) in yield. The most widely used agricultural machines were 8-inch Phayanak (Thai-made irrigation pump), 8 – 11.5 hp walk-behind tractor and engined knapsack sprayer respectively. Upon the survey, the most serious problems which farmers needed to be solved were: cost of fertilizer, irrigation, cost of insecticide and pesticide, low-price grain and increasing oil price, respectively.

Article Details

How to Cite
สงวนเสริมศรี ม. (2014). วิธีการและปัญหาของการทำนาข้าวในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. Naresuan University Engineering Journal, 2(1), 44–54. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/26309
Section
Research Paper