การศึกษาสภาพชั้นดินและพารามิเตอร์ในการทรุดตัวของชั้นดิน บริเวณท่าอากาศยานแห่งใหม่ในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ทิพย์วิมล แตะกระโทก

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาสภาพชั้นดิน พารามิเตอร์ของการทรุดตัว และการคาดการณ์พฤติกรรมการทรุดตัวของดิน บริเวณท่าอากาศยานแห่งใหม่ในจังหวัดพิษณุโลก  ตั้งอยู่ที่ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร  พฤติกรรมการทรุดตัวประกอบไปด้วยขนาดการทรุดตัว  ผลการทดสอบจะคาดคะเนขนาดการทรุดตัวในบริเวณต่างๆภายในสนามบิน  โดยใช้ทฤษฎีการทรุดตัวแบบทิศทางเดียวของ  Terzaghi (One-dimension consolidation theory)

การศึกษาพบว่า สภาพชั้นดินที่ทดสอบตั้งแต่ความลึก 0-10 เมตร  สามารถจำแนกประเภทเป็น A-2  ซึ่งมีความเหมาะสมต่องานสนามบิน ขนาดการทรุดตัวในเวลา 21 วันของอาคารที่พักอยู่ระหว่าง 4-7 มิลลิเมตร และดรรชนีการทรุดตัวน้อยกว่าดินเหนียวกรุงเทพ โดยที่ ค่า Compression Index (Cc) มีค่าน้อยกว่าของดินเหนียวกรุงเทพประมาณ 2-3 เท่า และ Recompression index (Cr) น้อยกว่าถึงประมาณ 10 เท่า

 

The study of a soil profile and the consolidation parameters at new airport in Phitsanulok

The study is studied soil profile, consolidation parameters and estimated consolidation behaviour of new Phitsanulok airport soils, located on Tumbon Aranyik, Muang district at a distance of 3 kilometers southeast of downtown Phitsanulok. Considation behavior is composed of a magnitude of consideration and rate of consolidation. The result will be estimated the magnitude of consolidation at twenty-one days settlement by Terzaghi’s one dimension consolidation theory

This study shows that soil profiles at depth 0-10 meters can be classified as A-2 group, which is suitable for airport, the consolidation settlement of resident area is about 4-7 millimeters and consolidation parameters are smaller than those of Bangkok clay. Compression index (Cc) of airport soil is fewer than that of Bangkok clay and recompression index (Cr) of airport soil is smaller than ten folds of that of Bangkok clay. 

Article Details

How to Cite
แตะกระโทก ท. (2014). การศึกษาสภาพชั้นดินและพารามิเตอร์ในการทรุดตัวของชั้นดิน บริเวณท่าอากาศยานแห่งใหม่ในจังหวัดพิษณุโลก. Naresuan University Engineering Journal, 3(1), 5–12. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/26298
Section
Research Paper