การประยุกต์ใช้แถบเสียงสะเทือนไหล่ทางเพื่อเตือนผู้ขับขี่ที่หลับใน

Main Article Content

กัมปนาท รติวัฒน์
วิวัฒน์ สุทธิวิภากร

Abstract

การใช้แถบเสียงสะเทือนไหล่ทาง (ถสล.) เป็นอุปกรณ์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงที่มีสาเหตุเนื่องมาจากการเหม่อลอย หรือภาวะหลับในของผู้ขับขี่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทย การติดตั้ง ถสล.ยังพบเห็นได้น้อยมาก จนแทบเรียกได้ว่ายังไม่มี ทั้งที่อุบัติเหตุจำนวนไม่น้อยมีสาเหตุมาจากการหลับใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางที่มีช่วงถนนตรงและยาว ซึ่งมีจุดตัดหรือทางแยกจำนวนน้อย ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ขับขี่ ทำให้ผู้ขับขี่มีโอกาสที่ต้องเผชิญกับความล้ามากขึ้น บทความนี้เป็นการพิจารณานำรูปแบบ ถสล. มาประยุกต์ติดตั้ง โดยคำนึงถึงพฤติกรรมการขับขี่ ชนิดของอุปกรณ์ และวิธีการติดตั้ง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุ การใช้สีเทอร์โมพลาสติกเป็นวัสดุในการติดตั้งในการศึกษาครั้งนี้มีความเป็นไปได้อย่างมากในการนำไปใช้งานจริง เนื่องจากหาง่าย ราคาถูก สามารถดำเนินการติดตั้งได้สะดวก และไม่ทำลายสภาพถนนเดิม น่าจะเป็นรูปแบบและวิธีการที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคา อันจะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบรรเทาและป้องกันความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินบนทางหลวง

 

A Practical Application of Shoulder Rumble Strip to Alert Drowsy Driver/Rider

Shoulder rumble strips (SRS) have been widely used overseas to alleviate and prevent accidents caused by drivers’ drowsiness and inattention. In Thailand, SRS have virtually not been used at all; even though many accidents are caused by sideswipes, particularly on long and straight rural roads. On such roads, less interruption resulted from fewer crossroads and intersections usually entice inattentiveness to drivers, thus creating more chances for drowsiness from uneventful drives. This paper describes the results of a research study into the practical application of various kinds and patterns of SRS that have been used overseas. Taking into consideration driving behaviors, types of equipment and installation methods, the results show potential of SRS in reducing road accidents as well as severity. The thermoplastic material used in making the SRS in this study is easy to procure, not expensive, can be easily applied and renders negligible damage to existing road surface. This cost-effective measure should assist related agencies in mitigating and preventing single-vehicle road crashes.

Article Details

How to Cite
รติวัฒน์ ก., & สุทธิวิภากร ว. (2014). การประยุกต์ใช้แถบเสียงสะเทือนไหล่ทางเพื่อเตือนผู้ขับขี่ที่หลับใน. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 67–78. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.7
Section
Research Paper