การศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็วบนกระแสจราจร

Main Article Content

ณัฐพล ปิยอิสระกุล
วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์

Abstract

ในปัจจุบันการขับรถเร็วเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ทำให้ต้องมีมาตรการตรวจจับความเร็วรถ ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการประเมินความสามารถของการตรวจจับความเร็วรถ และศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็ว โดยเปรียบเทียบวิธีการตรวจจับความเร็วรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจและวิธีการตรวจวัดความเร็วรถในกระแสจราจรทุกคันบนถนนทางหลวงหมายเลข 1 และถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ขับรถที่มาชำระค่าปรับเฉพาะบนถนนทางหลวง ผลการวิเคราะห์ พบว่า บนถนนทางหลวง มีรถใช้ความเร็วเกิน 120 กม/ชม ทั้งสามช่องจราจร ร้อยละ 16.49 แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับได้เพียงร้อยละ 6.34 เท่านั้น ขณะที่บนถนนมอเตอร์เวย์ มีรถใช้ความเร็วเกิน 125 กม/ชม ทั้งสี่ช่องจราจร ร้อยละ 6.03 แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับได้เพียงร้อยละ 2.01 เท่านั้น ผลการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็ว พบว่า กลุ่มผู้ขับรถเร็วส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ประมาณ 20,001 – 30,000 บาท ผลจากการสอบถาม พบว่า ร้อยละ 86.35 เป็นผู้ที่เคยถูกตรวจจับความเร็วมาก่อน และผู้ที่ถูกตรวจจับส่วนใหญ่ร้อยละ 35.06 ยังไม่คิดที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถเร็ว และจากการสัมภาษณ์ยังพบอีกว่าหากใช้เครื่องตรวจจับความเร็วที่สามารถตรวจจับรถที่ขับเร็วกว่าที่กำหนดได้ทุกคันในทุกช่องจราจร ร้อยละ 95 ของผู้ที่มาชำระค่าปรับ จะลดความเร็วในการขับขี่ลง


Study of Speeder Behaviors on Traffic Flow

In recent, speedy driver is a major cause of traffic accidents. The objectives of this study are to evaluate the speed detection system and to study the speeder behaviors. Methods: check the detection rates and interview speeders on highway no.1 and motorway no.9. Results: on highway, the speeds of about 16.49% of all vehicles were over 120 km/hr, in all 3 lanes but policemen could detect only 6.34%. On motorway, the speeds of about 6.03% of all vehicles were over 125 km/hr, in all 4 lanes but policemen could detect only 2.01%. Most of speeders were male, between 26 – 35 years old, hold bachelor degree, had government official career and had salary between 20,001 – 30,000 baht. It was found that 86.35% detected drivers were the drivers who had got penalty before. And about 35.06% detected drivers did not expect to reduce speed. Additionally, about 95% detected drivers would change their driving behaviors if the detection system could be detected all speeders in all lanes.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปิยอิสระกุล ณ., & ศรีสุรภานนท์ ว. (2014). การศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็วบนกระแสจราจร. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 51–60. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.9
Section
Research Paper