การประยุกต์ใช้ระบบ GIS เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดิน เพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โครงการก่อสร้างถนนตามผังเมืองรวม กรมทางหลวงชนบท

Main Article Content

สุพรชัย อุทัยนฤมล
วิษุวัต ชุมนุมพันธ์

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อราคาค่าทดแทนที่ดินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 21 วรรค (1) (2) (3) (4) และ (5) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืน พ.ศ.2530 และนำหลักการคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้นเพื่อคำนวณหาค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามระยะเวลา เพื่อปรับราคาซื้อ-ขาย หรือราคาจำนองที่เกิดขึ้นจริงในอดีตให้เป็นปัจจุบัน จากนั้นจึงใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรมากกว่า 2 ตัวเพื่อหาสมการถดถอยเชิงพหุ จากการทดสอบพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อราคาที่ดินเนื่องจากการเวนคืน มี 3 ปัจจัยคือ สภาพทำเลที่ตั้ง (X1), ลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (X6) และความกว้างด้านที่ติดถนนหรือทาง (X8) สมการความถดถอยคือ Y = 3,192.770X1 + 2,371.443X6 + 2,176.649X8 เมื่อพิจารณาในภาพรวมก็จะเห็นว่าราคาค่าทดแทนที่ได้จากสมการความถดถอยสูงกว่าราคาประเมินของกรมที่ดินและใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการนำเสนอข้อมูลราคาค่าทดแทน โดยการแสดงค่าสีตามราคาค่าทดแทนบนที่ดินแต่ละแปลงตลอดแนวโครงการ


Geographic Information System (GIS) Application for Determining Land Acquisition Valuation: A Case Study of Expropriation by Department of Rural Roads

This research project studied the factor that effect land compensation as identified in Section 21, Part 1, 2, 3, 4 and 5 of the Expropriation Act, 2530 B.E., and take an economics theory for adjust the land price then used relation analysis technique of variable more than two searches for multiple regression equation. From an experiment, it was found that there are three factors that have an effect on land price. The three factors are the location (X1), the land use (X6) and the wideness side of parcel next to road (X8). An equation of this regression analysis is Y = 3,192.770X1 + 2,371.443X6 + 2,176.649X8. The result that is calculated from this regression equation is higher than an estimated price from the Department of Lands. GIS used to present the variation of land price in each parcel with shading techniques along the route and the committee can use this tool settle land price for the expropriation.

Article Details

How to Cite
อุทัยนฤมล ส., & ชุมนุมพันธ์ ว. (2014). การประยุกต์ใช้ระบบ GIS เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดิน เพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โครงการก่อสร้างถนนตามผังเมืองรวม กรมทางหลวงชนบท. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 43–50. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.10
Section
Research Paper