การปรับปรุงวัสดุหินผุในจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อใช้เป็นวัสดุในงานชั้นพื้นทาง

Main Article Content

ดุลยพล ชัยมงคล
เกษม ชูจารุกูล
จิรโรจน์ ศุกลรัตน์

Abstract

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าวัสดุที่จะนำมาก่อสร้างงานทางนั้นจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ได้ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ในประเทศไทยวัสดุดังกล่าวนั้นเป็นวัสดุที่ค่อนข้างขาดแคลนในภาคเหนือทำให้ผู้ประกอบการต้องขนส่งวัสดุมาจากพื้นที่อื่นก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มในการก่อสร้าง ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำวัสดุหินผุในจังหวัดอุตรดิตถ์มาใช้เป็นชั้นพื้นทาง โดยได้นำหินผุในจังหวัดอุตรดิตถ์มาทำการทดสอบหาคุณสมบัติเบื้องต้นคือ หาขนาดคละของวัสดุ หาค่า Atterberg Limit ค่า California Baring Ratio (CBR) และ Unconfined Compressive Strength (UCS) เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพวัสดุ จากนั้นจึงนำวัสดุหินผุที่ปรับปรุงแล้วมาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมซึ่งประกอบด้วย ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นและ ค่าความคงทน แสดงให้เห็นว่าวัสดุหินผุปรับปรุงในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่ต้องการ


Modification of Weathered Rock in Uttaradit Province for Use as Base Course Materials

It is widely known that construction materials for highway construction should meet Department of Highways standards. In Thailand, those materials are scarce in the Northern part; therefore, construction companies typically need to transport materials from other areas, resulting in a higher construction cost. This research aims to study the possibility of bringing weathered rock material in Uttaradit Province as base course. Such materials are subjected to preliminary tests for desired properties in terms of gradation, Atterberg Limit, California Baring Ratio (CBR), and Unconfined Compressive Strength (UCS). The stabilized materials are further tested for Resilient Modulus, and Durability Results show that stabilized materials in Uttaradit Province can satisfy the required standards.

Article Details

How to Cite
ชัยมงคล ด., ชูจารุกูล เ., & ศุกลรัตน์ จ. (2014). การปรับปรุงวัสดุหินผุในจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อใช้เป็นวัสดุในงานชั้นพื้นทาง. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 37–42. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.11
Section
Research Paper