อันตรายข้างทางจากการศึกษาอุบัติเหตุในเชิงลึก

Main Article Content

ศาสตราวุฒิ พลบูรณ์
กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์
ณัฐพงษ์ บุญตอบ
ปกรณ์ อนิวัตกูลชัย
เบอร์เลี่ยน คูชารี

Abstract

อุบัติเหตุประเภทรถหลุดออกจากถนน (Run-Off-Road) ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางหลวงในประเทศไทยมากที่สุด ในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550 มีอุบัติเหตุประเภทนี้เกิดขึ้นทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนถึง 47% จากอุบัติเหตุทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส 40% แม้ว่าองค์ประกอบของการเกิดอุบัติเหตุประเภทนี้จะเกิดจากผู้ขับขี่เป็นหลัก ไม่ว่าจะเกิดจากการขับขี่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรืออาจเกิดจากการขาดความสามารถในการขับขี่ แต่ความรุนแรงของอุบัติเหตุประเภทนี้กลับเกิดขึ้นจากการที่รถปะทะเข้ากับอุปกรณ์ข้างทางหรือรถเกิดการพลิกคว่ำ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการสืบค้นสาเหตุและการฟื้นฟูสภาพการเกิดอุบัติเหตุ (Accident Investigation and Reconstruction) ของอุบัติเหตุประเภทรถหลุดออกจากถนน ภายใต้การสนับสนุนของกรมทางหลวงและธนาคารโลก ผลการศึกษาพบว่าอันตรายข้างทางที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ ความชันคันทาง เสาและต้นไม้ อุปกรณ์กั้น และคันหิน บทความนี้ได้นำเสนอถึงกระบวนการในการเก็บข้อมูลในสถานที่เกิดเหตุ การวิเคราะห์อุบัติเหตุ และประเมินถึงประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ข้างทางต่างๆ ที่จะช่วยลดการบาดเจ็บของผู้ประสบอุบัติเหตุ 

 

Roadside Hazards from the Accident In-Depth Study

The vehicle run-off-road (ROR) accidents are reported as the main accident type occurred on the national highways. Between 2003 and 2007, the ROR shared 47% of all accidents and 40% of killed or serious injured (KSI). It is obvious that this accident type is mainly contributed by driver behaviors, either from the performance errors, i.e. speeding, unsafe maneuver, or from the recognition errors by drowsy driving. However, the injury outcomes occurred when the vehicle hit the roadside objects or vehicle rollover. The Thailand Accident Research Center performed the accident in-depth study through the accident investigation and reconstruction for this type of crash under the supports by the Department of Highways and the World Bank. Four types of accident were categorized from this study, including roadside slope, tree and pole, roadside barrier, and curb. This paper presents the methodology of scene documentation and accident reconstruction, and the evaluation of roadside safety features.

Article Details

How to Cite
พลบูรณ์ ศ., กนิษฐ์พงศ์ ก., บุญตอบ ณ., อนิวัตกูลชัย ป., & คูชารี เ. (2014). อันตรายข้างทางจากการศึกษาอุบัติเหตุในเชิงลึก. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 9–16. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.13
Section
Research Paper