การกำจัดก๊าซมีเทนทางชีวภาพที่หน้าดินกลบหลุมฝังกลบขยะ

Main Article Content

วรางค์ลักษณ์ ซ่อนกลิ่น

Abstract

การฝังกลบขยะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งนับวันจะถูกปลดปล่อยออกมาจากหลุมฝังกลบมากขึ้น ก๊าซมีเทนนั้นเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 25 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการกำจัดก๊าซมีเทนจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยอาศัยกระบวนการตามธรรมชาติที่เรียกว่ามีเทนออกซิเดชัน ซึ่งแบคทีเรียเมทาโนโทรฟจะเปลี่ยนมีเทนให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่หน้าดินกลบหลุมฝังกลบ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าที่หน้าดินหลุมฝังกลบเกิดมีเทนออกซิเดชันระหว่าง 4.45-306 กรัมต่อตารางเมตรต่อวัน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดมีเทนออกซิเดชันมีอยู่ 9 ประการ คือ ชนิดดิน พีเอช ความชื้น อุณหภูมิ ความเข้มข้นมีเทน ความเข้มข้นออกซิเจน สัดส่วนออกซิเจนต่อมีเทน สารยับยั้ง และชนิดพืชที่ใช้ปลูกคลุมหลุมฝังกลบ ซึ่งหากการออกแบบหลุมฝังกลบขยะคำนึงถึงการส่งเสริมให้เกิดมีเทนออกซิเดชันที่ชั้นดินกลบหลุมฝังกลบแล้วจะก่อให้เกิดการลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศเป็นผลให้ลดการเกิดภาวะโลกร้อนได้ระดับหนึ่ง


Biological Methane Removal in Landfill Cover Soil 

Landfill generates a higher yearly rate of  methane gas which is a potent greenhouse gas that contributes global warming. Methane’s global warming potential is greater than carbondioxide 25 times. Then, it is necessary to eliminate methane by biological process called methane oxidation; which methanotroph bacteria could convert methane to carbondioxide at landfill cover soil. Several studies found that methane oxidation rate in landfill cover soil were 4.45-306 g/m2.d. 9 Factors such as soil type, pH, moisture, temperature, CH4 concentration, O2 concentration, O2/CH4, inhibitor and plant type influenced methane oxidation. If designing landfill  considered promoting methane oxidation in landfill cover soil, it may decrease methane emission to atmosphere and reduce global warming.

Article Details

How to Cite
ซ่อนกลิ่น ว. (2014). การกำจัดก๊าซมีเทนทางชีวภาพที่หน้าดินกลบหลุมฝังกลบขยะ. Naresuan University Engineering Journal, 5(2), 37–45. https://doi.org/10.14456/nuej.2010.15
Section
Research Paper