การออกแบบการทดลองเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานถุงพลาสติกหิ้วรูปตัวยู

Main Article Content

คนัน ธนกุลชัยทวี
ศุภชัย นาทะพันธ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของความหนาต่อปริมาตรการบรรจุและเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้งานของถุงพลาสติกหิ้วรูปตัวยูชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยจะศึกษาสมบัติการยืด และความหนาของถุงพลาสติก ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก. 1116-2535 ถุงพลาสติกหิ้วรูปตัวยู ด้วยการประยุกต์การออกแบบการทดลองแบบเซ็นทรัลคอมโพสิตทำการทดลองและวิเคราะห์ปัจจัยที่เหมาะสมของค่าร้อยละการยืดต่อการรับน้ำหนักของถุงพลาสติก ปัจจัยที่ใช้ในการทดลองคือเวลา และความหนาของถุงพลาสติก ผลการวิจัยพบว่า ความหนาที่เหมาะสมที่จะนำถุงขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ มาใช้หิ้วและบรรจุสิ่งของได้โดยไม่เสียหายเท่ากับ 0.015, 0.020 และ 0.025 มิลลิเมตร อีกทั้งถุงสามารถรับภาระได้มากกว่ามาตรฐานถึง 18, 18 และ 9 นาที ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยการใช้งานถุงพลาสติก 12 นาที) นอกจากนั้น ค่าการยืดสอดคล้องตามข้อกำหนดของ มอก.1116-2535

 

Design of Experiments to Analyze Factors Affecting the Main Function of U-Shaped Plastic Shopping Bags

The objective of this research is to study the related thickness for volume and optimal time to use of three dimensions of High Density Polyethylene (HDPE) plastic bags -small, medium and large bags. The properties of bags are tested in elongation and thickness using of TIS 1116-1992. The application of an experimental design using Central Composite Design is to analyze factors that contribute to the elongation percentage of plastic bags. The experimental factors are load-time and thickness of bags. The results found that the optimal thicknesses of small, medium and large bags to suit their loads are 0.015, 0.020 and 0.025 millimeters.  And, the maximum load time is more than the standard 18, 18 and 9 minutes, respectively (The average use time of a plastic bag is 12 minutes). Furthermore, the elongations conform to the requirement of TIS.

Article Details

How to Cite
ธนกุลชัยทวี ค., & นาทะพันธ์ ศ. (2014). การออกแบบการทดลองเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานถุงพลาสติกหิ้วรูปตัวยู. Naresuan University Engineering Journal, 9(2), 38–47. https://doi.org/10.14456/nuej.2014.2
Section
Research Paper