การประเมินผลโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทางถนน ส่วนงานกรมทางหลวงชนบท โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP)

Main Article Content

วรรธนะ ประภาภรณ์
มนัส รัตนพลที
อิสรา เสนานิกรณ์

Abstract

กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม มีภารกิจสำคัญคือการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนา การกำหนดนโยบายและรูปแบบการปฏิบัติงานจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานภาครัฐให้เกิดความมีประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการกระทรวงคมนาคม พุทธศักราช 2555 – 2558  ผู้วิจัยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินการบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management) ของการดำเนินงาน และกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (The Analytical Hierarchy Process: AHP) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหลักและปัจจัยย่อย ผลการวิจัยพบว่า กรอบการประเมินแบ่งตามระดับการประเมินได้ค่าน้ำหนักเฉลี่ยของปัจจัยหลักการประเมินระดับผลผลิต ระดับผลลัพธ์ และระดับผลกระทบ มีค่าร้อยละ 47.15 45.53 และ 9.32 ตามลำดับ และ กรอบการประเมินแบ่งตามมิติการประเมิน ได้ผลดังนี้ ค่าน้ำหนักเฉลี่ยของมิติด้านเศรษฐกิจและการเงิน มิติด้านการจัดการ มิติด้านสังคม และ มิติด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าร้อยละ 24.34 40.01 24.37 และ 11.28 ตามลำดับ ผลของงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงทรรศนะการให้ระดับความสำคัญของตัวบ่งชี้ประสิทธิผลและทิศทางการปฏิบัติงานระดับโครงสร้างหน่วยงานและความสอดคล้องระหว่างหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างมีประสิทธิผลต่อไป

 

The evaluations of Road Transportation, Department of rural Road by using Analytical Hierarchy Process (AHP)

The mission of Department of Rural Roads under Ministry of Transport is to develop the basic infrastructure to support the efficient and effective public transportation and logistics, so the well-determined policy and operation are viewed as the key tool to empower the government’s operation to be more effective as stipulated in the Ministry of Transport Operation Plan B.E. 2555 – 2558. In this regard, the researcher purposively applied the result based management and the analytical hierarchy process (AHP) to analyze the importance weight of the major and minor factors. Indeed, the evaluation by levels showed that the weights means of the major factors at different levels, i.e. output, outcome, and impact, were 47.15, 45.53 and 9.32 percentages, respectively. Meanwhile, the evaluation by dimensions revealed that the weighted means of each dimension i.e. economy and finance, management, society, and environment, were 24.34, 40.01, 24.37 and 11.28 percentages, respectively. The research finding indicated a vision on the importance of the effectiveness indicator and the future direction of the operation within the organization, as well as the correspondence between the organizations, which can be usefully applied to develop the government’s operation that is more effective and consistent with the national strategic objectives

Article Details

How to Cite
ประภาภรณ์ ว., รัตนพลที ม., & เสนานิกรณ์ อ. (2014). การประเมินผลโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทางถนน ส่วนงานกรมทางหลวงชนบท โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP). Naresuan University Engineering Journal, 9(2), 21–32. https://doi.org/10.14456/nuej.2014.5
Section
Research Paper