ความต้านทานการลื่นไถลของแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีวัสดุผิวทางเดิมเป็นส่วนผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับใช้ก่อสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตมีปริมาณลดน้อยลง ดังนั้น เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ในการก่อสร้างผิวทางจึงมีการนำวัสดุผิวทางเดิม (Reclaim Asphalt Pavement) มาปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่างานวิจัยในอดีตส่วนมากมุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพการใช้งาน (Performance) ของแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีผิวทางเดิมเป็นส่วนผสม แต่งานวิจัยด้านการออกแบบแอสฟัลต์คอนกรีตให้มีความปลอดภัย (Safety) เพียงพอนั้นยังมีจำนวนจำกัดอยู่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นในการคำนึงถึงมุมมองด้านความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบส่วนผสม จึงเป็นสาเหตุให้เกิดงานวิจัยเรื่องนี้ขึ้นสำหรับงานวิจัยนี้มีการออกแบบสูตรส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชลล์ (Marshall) ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง 3 ชนิด คือ 1) แอสฟัลต์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของวัสดุผิวทางเดิมปริมาณร้อยละ 50 2) แอสฟัลต์คอนกรีตที่มีปริมาณผิวทางเดิมเป็นส่วนผสมทั้งหมด และ 3) แอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้วัสดุมวลรวมใหม่เป็นส่วนผสมทั้งหมด และใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์เกรด AC 60/70 เป็นวัสดุเชื่อมประสาน นำมาทดสอบค่าความต้านทานการลื่นไถล(Skid resistance) ด้วยเครื่องมือ British Pendulum Tester และ Dynamic Friction Tester โดยจำลองการเสื่อมสภาพของผิวทางในระยะยาว (Long-Term deterioration) ด้วยเครื่องเร่งการขัดสี (Three-Wheel Polishing Device) จากผลการทดสอบตามมาตรฐานมาร์แชลล์พบว่า การเพิ่มปริมาณวัสดุผิวทางเดิมในส่วนผสมของแอสฟัลต์คอนกรีต ส่งผลให้ค่าเสถียรภาพ(Stability)มีแนวโน้มสูงขึ้นและค่าการไหล (Flow) ลดลง สำหรับการทดสอบค่าความต้านทานการลื่นไถลของส่วนผสมทั้ง 3 ชนิดพบว่า แอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้วัสดุมวลรวมใหม่เป็นส่วนผสมทั้งหมดมีค่าความฝืดที่คำนวณตามมาตรฐาน International Friction Index มากกว่าแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของวัสดุผิวทางเดิมปริมาณร้อยละ 50 และแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีปริมาณผิวทางเดิมเป็นส่วนผสมทั้งหมดมีค่าความเสียดทานต่ำสุดโดยค่าความฝืดของแอสฟัลต์คอนกรีตในงานวิจัยนี้มีความสัมพันธ์กับผลการทดสอบ Los Angeles Abrasion แต่ไม่สอดคล้องกับผลการทดสอบ Polished Stone value (PSV)
Article Details
References
American Society for Testing and Materials. (2011). ASTM E274/E274M–11 Standard Test Method for Skid Resistance of Paved Surfaces Using a Full-Scale Tire. West Conshohocken, PA.
Austroads. (2011). Guideance for the Development of Policy to Manage Skid Resistance. Austroads Research Report, AP-374/11.
Chulalongkorn University Transportation Institute. (2013). Project for design and development of a method for estimating skid resistance of asphalt concrete with characteristics of aggregates. Chulalongkorn University.
Chulalongkorn University Transportation Institute. (2015). Project for design and study of skid resistance by pavement age. Chulalongkorn University.
Hu, X., Nie, Y., Feng, Y., & Zhanq, Q. (2012). Pavement Performance of Asphalt Surface Course Containing Reclaimed Asphalt Pavement (RAP). Journal of Testing and Evaluation, 1-7.
Izaks, R., Haritonovs, V., Klasa, I., & Zaumanis, M. (2015). Hot Mix Asphalt With High RAP Content. Procedia Engineering 114, 676–684.
Vollor, T. W. (2006). Development of Laboratory Procedure for Measuring Friction of HMA Mixture-Phase I. National Center for Asphalt Technology (NCAT).