การออกแบบกระบวนการวางแผนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตขนมไทย

Main Article Content

กฤษดา พัวสกุล
สิรวิชญ์ สว่างนพ
ธีรภัทร์ อนุภาพพันธุ์
จีรณา จันทร์สีขาว

บทคัดย่อ

การผลิตขนมไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและมีข้อจำกัดจำนวนมาก กระบวนการผลิตมีลักษณะทั่วไปเป็นแบบผลิตตามงาน (job shop production) โรงงานตัวอย่างที่ผู้วิจัยเลือกเข้าไปศึกษาเป็นโรงงานที่ดำเนินกิจการด้านการผลิตขนมไทยมาแล้วกว่า 30 ปี มีผลิตภัณฑ์ขนมไทยที่ทำการผลิตมากกว่า 30 ชนิด โดยมีปัญหาหลักที่พบคือ ภายใต้บริบทของระบบการผลิตที่ซับซ้อนดังกล่าวข้างต้น การวางแผนการผลิตจะอาศัยเพียงประสบการณ์ของผู้วางแผนเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้เวลาเสร็จงานของระบบค่อนข้างสูง มีผลต่อเนื่องให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบกระบวนการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานและข้อจำกัดหรือข้อกำหนดของโรงงานตัวอย่าง โดยกระบวนการที่ออกแบบนี้เป็นการผสมผสานและปรับประยุกต์เพิ่มเติมของกฏการจ่ายงานหลายกฏด้วยกัน จากการทดลองนำเอากระบวนการวางแผนการผลิตและโปรแกรมสนับสนุนการวางแผนไปใช้กับข้อมูลจริงของโรงงานพบว่า สามารถช่วยให้เวลาเสร็จงานของระบบลดลงจากวิธีการของโรงงาน 113 นาที หรือคิดเป็น 12.18% และยังช่วยให้งานที่มีเวลาในการผลิตนาน สามารถเริ่มงานได้เร็วกว่าเดิม

Article Details

How to Cite
พัวสกุล ก., สว่างนพ ส. ., อนุภาพพันธุ์ ธ. ., & จันทร์สีขาว จ. . (2019). การออกแบบกระบวนการวางแผนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตขนมไทย. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 24–36. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/204590
บท
Research Paper

References

Arisha, A., Young, P., & Baradie, E. M. (2001). Job Shop Scheduling Problem: an Overview. Technological University Dublin. https://arrow.tudublin.ie/cgi/viewcontent.cgi?

article=1085&context=buschmarcon

Baker, K. R. (1974). Introduction to Sequencing and Scheduling. John Wiley & Sons.

Chance, M. R. A. (1945). HEURISTIC METHOD IN RESEARCH. The Lancet, 245(6357), 828-830. doi:https://doi.org/10.1016/

S0140-6736(45)91921-0

Artigues, C., Demassey, S., & Néron, E. (2008). Resource-Constrained Project Scheduling : Models, Algorithms, Extensions and Applications. wiley.

Conway, R. W., Maxwell, W. L., & Miller, L. (2003). Theory of Scheduling. Addison-Wesley.

Xhafa, F., Abraham, A. (2008). Metaheuristics for Scheduling in Industrial and Manufacturing Applications. Springer Berlin Heidelberg.

Graves, S. C. (1981). A Review of Production Scheduling. Operations Research, 29(4), 646-675.

Haupt, R. J. O.-R.-S. (1989). A survey of priority rule-based scheduling. 11(1), 3-16. https://doi.org/ 10.1007/bf01721162

Mellor, P. (1966). A Review of Job Shop Scheduling. OR, 17(2), 161-171. https://doi.org/ doi:10.2307/3007281

Pairyai, P. (2006). Hybrid heuristic method scheduling for Job shop productions A case study : Gear factory [Master’s thesis]. King Mongkut's institute of technology north bangkok.

Pattanacharoen, P. (1998). Production planning by sequencing and scheduling for punch & dies factory [Master’s thesis]. Kasetsart University,

Ruiz, R. (2015). Scheduling Heuristics. https://www.researchgate.

net/publication/310486959_Scheduling_Heuristics

Sangarun, P. (2002). Production scheduling : the case study of compressor manufacturing [Master’s thesis]. Chulalongkorn university.

Tansuwannarat, N. (2548). Design of production scheduling method for food manufacturer A case study : Coca foods inter company [Master’s thesis]. King Monkut's institute of technology north bangkok.

Prachantasen, C. (2003). Production scheduling for make to order textile industry [Master’s thesis]. King Mongkut's institute of technology north bangkok.