การประเมินแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Evaluation of the Alternative Energy Development Plan)

Authors

  • สุพิชชา ชีวพฤกษ์ ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มวิจัยการจัดการสารสนเทศในอุตสาหกรรม, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปิติณัตต์ ตรีวงศ์ กลุ่มวิจัยการจัดการสารสนเทศในอุตสาหกรรม, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชาญวิทย์ ตั้งสิริวรกุล ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศูนย์วิจัยพลังงานยานยนต์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เชษฐวุฒิ ภูมิพิพัฒน์พงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศูนย์วิจัยพลังงานยานยนต์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชัยพิพัฒน์ ศรีมณีชัย ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศูนย์วิจัยพลังงานยานยนต์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก, คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, พลังงานหมุนเวียน, Alternative Energy Development Plan, National Energy Policy Committee, Renewable Energy

Abstract

ในปี พ.ศ. 2558 ภาครัฐได้ประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2558–2579) ซึ่งปรับปรุงมาจากแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555–2564)  ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนฉบับใหม่ให้ประสบผลสำเร็จจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกฉบับเดิมต่อการใช้พลังงานทดแทนภายในประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2552–2557 ตามตัวแบบประเมินบริบท–ปัจจัยนำเข้า–กระบวนการ–ผลผลิต (CIPP Model) โดยการเก็บข้อมูลทางสถิติ การสัมภาษณ์ และการสัมมนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกมีความสอดคล้องกับบริบท ภาครัฐมีโครงสร้างการบริหารและกรอบการลงทุน รวมถึงมีวิธีดำเนินงานที่สามารถขับเคลื่อนแผนได้ดี มีการติดตามและปรับปรุงแผนอยู่อย่างสม่ำเสมอ สถิติได้รายงานว่าปริมาณการใช้พลังงานทดแทนสูงกว่าเป้าหมายรายปีและมีแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ 25% ในปี พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังคงต้องทำการส่งเสริมพัฒนาพลังงานทดแทนต่อไปทั้งด้านเทคโนโลยีและการสร้างจิตสำนึกการใช้งานเพื่อให้ขับเคลื่อนแผนมีความก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

In 2015, the government has launched new Alternative Energy Development Plan (AEDP 2015), which was revised from Alternative Energy Development Plan – 25% in 10 year (AEDP 2012–2021). In order to induce the new AEDP 2015 effectively, it is crucial to investigate previous progression and information. Therefore, the objective was to analyze the effect of AEDP 2012–2021 on Thailand’s alternative energy consumption, between 2009–2014, using Context-Input-Process-Product model (CIPP model). Data were collected from statistical information, interviewing and group seminar. The results found that AEDP 2012–2021 conformed to the context of country’s energy situation. The government has systematically planned both managerial and financial structures, including a well-organized driving process. Monitoring and improving processes were conducted regularly. The statistical results reported that the alternative energy consumption were higher than the annual goals and presented a trend which can achieve the 25% substitution in 2021. However, the government still has to support and develop alternative energies in both technological and public awareness for the advance, secure and sustainable plan.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)