การศึกษาคุณลักษณะเฉพาะผิวเชื่อมพอกแข็งด้วยลวดเชื่อมแบบแกน Cr-Nb-Ni-Fe based และ Cr-Mo-W-Fe based ที่เตรียมด้วยการเชื่อมแบบ Gas Metal Arc Welding

Authors

  • แมน ตุ้ยแพร่ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา
  • คำรณ แก้วผัด สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา

Keywords:

การเชื่อมพอกผิวแข็ง, ลวดเชื่อมแบบแกน, การสึกหรอแบบไถล, การเชื่อมแบบ GMAW, Hard surfacing, Cored wire, Sliding wear, Gas metal arc welding

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ศึกษารอยเชื่อมพอกแข็ง 2 ชนิดคือรอยเชื่อมพอกแข็ง Cr-Nb-Ni- Fe based และรอยเชื่อมพอกแข็ง Cr-Mo-W-Fe based จากลวดเชื่อมแบบแกน ด้วยกระบวนการเชื่อมแบบ Gas Metal Arc Welding และเชื่อมบนเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เพื่อประยุกต์ใช้ซ่อมแซมชิ้นส่วนที่เสียหาย การศึกษาพบลักษณะ รูปร่างของลวดเชื่อมแบบแกนประกอบด้วยเปลือกและผงวัสดุในแกนลวดเชื่อม เปลือกของลวดเชื่อม Cr-Nb-Ni-Fe based พบเหล็ก โครเมียม นิกเกิล เป็นองค์ประกอบทางเคมีเป็นหลัก ส่วนวัสดุผงในแกนลวดเชื่อมพบองค์ประกอบทางเคมีคือธาตุเหล็ก ไนโอเบียม โบรอนและอลูมิเนียม เป็นหลัก สำหรับเปลือกของลวดเชื่อม Cr-Mo-W-Fe based พบเหล็กและโครเมียมเป็นองค์ประกอบทางเคมีหลักและพบโมลิบดินัม ทังสเตนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบทางเคมีหลักในผงแกนลวดเชื่อม ความแข็งของรอยเชื่อม Cr-Mo-W-Fe based มีค่า 1007 HV300g ซึ่งสูงกว่าค่าความแข็งเฉลี่ยของรอยเชื่อม Cr-Nb-Ni-Fe based เนื่องจากมีองค์ประกอบทางเคมีของโมลิบดินัมและทังสเตนกระจายอยู่ในรอยเชื่อมและยังส่งผลให้อัตราการสึกหรอต่ำด้วย สำหรับรอยเชื่อมพอกแข็ง Cr-Nb-Ni-Fe based พบองค์ประกอบทางเคมีไนโอเบียมกระจายในรอยเชื่อม ทำให้รอยเชื่อมมีค่าความแข็งเฉลี่ย 656 HV300g  ซึ่งสูงกว่าความแข็งของชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอนประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเจือจางต่ำระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงานจึงทำให้ความแข็งของรอยเชื่อมมีค่าสูงและสม่ำเสมอทั้งรอยเชื่อม

In this research, the weldments of Cr-Nb-Ni-Fe based and Cr-Mo-W-Fe based electrode cored wires were fabricated onto low carbon steel by gas metal arc welding. The Cr-Nb-Ni-based electrodes cored wire consisting of iron, chromium and nickel alloy shell and iron, niobium, boron and aluminum alloy as the core material. Meanwhile, the Cr-Mo-W-Fe based electrode cored wire containing the iron and chromium alloy shell and a molybdenum, tungsten and carbon alloy as the core component. The measurement of average microhardness on the weldment Cr-Mo-W-Fe based was 1007 HV300g which was higher than that of the Cr-Nb-Ni-Fe based. This was due to a well distribution of the molybdenum and tungsten carbide in the Cr-Mo-W-Fe weldment. Whereas the Cr-Nb-Ni-Fe based weldment showed a distribution of niobium providing the average hardness of 656 HV300g which was about 3 times that of a mild steel substrate. Moreover, it was also found that very low dilutions between the cored wire and substrate resulting in high hardness and consistently in weldment.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)