สมบัติของคอนกรีตที่ทำจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมที่มีกากแคลเซียมคาร์ไบด์เถ้าปาล์มน้ำมัน เถ้าแกลบเปลือกไม้ และมวลรวมรีไซเคิล

Authors

  • ไชยนันท์ รัตนโชตินันท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ณัฐพงศ์ มกระธัช ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัย จาตุรพิทักษ์กุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • กษิดิศ มานะพัฒนานุกุล ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

วัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม, กากแคลเซียมคาร์ไบด์, เถ้าปาล์มน้ำมัน, เถ้าแกลบเปลือกไม้, มวลรวมรีไซเคิล, Industrial wastes, Calcium carbide residue, Palm oil fuel ash, Rice husk-bark ash, Recycled aggregates

Abstract

คอนกรีตนี้ถูกทำขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมทั้งในวัสดุประสานและมวลรวมกากแคลเซียมคาร์-ไบด์ (CCR) ผสมแยกกับเถ้าปาล์มน้ำมัน (PA) และเถ้าแกลบเปลือกไม้ (RA) นำมาใช้เป็นวัสดุประสานแทนที่ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมคอนกรีต นอกจากนี้มวลรวมรีไซเคิลถูกนำมาใช้แทนที่มวลรวมธรรมชาติเพื่อที่หล่อตัวอย่างคอนกรีต (คอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA) สมบัติของคอนกรีต ได้แก่ กำลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์ และการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตได้รับการประเมินและเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุม (คอนกรีต CON) ผลการวิจัยพบว่าวัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA สามารถนำมาใช้เป็นสารยึดเกาะในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมรีไซเคิล แม้ว่าวัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA มีหรือไม่มีปูนซีเมนต์ การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA คล้ายกับคอนกรีต CON นอกจากนี้วัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA สามารถปรับปรุงการแทรกซึมของคลอไรด์และการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าคอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA สามารถใช้เป็นคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชนิดใหม่ เพราะคอนกรีตเหล่านี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

This concrete was made by using several industrial wastes in both binder and aggregates. Calcium carbide residue (CCR) mixed separately with palm oil fuel ash (PA) and rice husk-bark ash (RA), and was used as a binder instead of Portland cement in the concrete mixture. Furthermore, recycled aggregates were fully replaced natural aggregates in order to cast concrete specimens (CCR-PA and CCR-RA concretes). Concrete properties namely compressive strength, chloride migration, and water permeability of CCR-PA and CCR-RA concretes were evaluated and compared with the conventional concrete (CON concrete). The results indicated that CCR-PA and CCR-RA binders could be used as a new cementitious material in recycled aggregate concrete, even though the CCR-PA and CCR-RA binders contained no Portland cement. The characteristic compressive strength of CCR-PA and CCR-RA concretes developed similar to CON concrete. Moreover, CCR-PA and CCR-RA binders in the mixtures were effectively improving the chloride migration and water permeability of recycled aggregate concretes. These results also suggested that CCR-PA and CCR-RA concretes can be used as a new environmental friendly concrete because of these concretes can reduce as much as CO2 emissions and environmental problems.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)