การลดสัดส่วนผลิตภัณฑ์บกพร่องในกระบวนการทาสีผนังภายนอกบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ (Defect Reduction in Painting of Exterior Wall Panel on Fiber Cement Board)

Authors

  • บรรชา บัวทวน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุจินต์ ธงถาวรสุวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์, กระบวนการทาสี, การก่อสร้าง, ผลิตภัณฑ์บกพร่อง, การหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด, Fiber cement panel, Painting process, Construction, Defective product, Optimization

Abstract

แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารมากขึ้นเพื่อลดระยะเวลาและควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตามแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ถูกทาสีแล้วมักพบการแตกร้าวบนชั้นสี ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลิตภัณฑ์บกพร่องประเภทสีแตกร้าวในกระบวนการทาสีบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดรอยแตกบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ทาสี คือ ความชื้นของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ความโค้งงอของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ และความหนาของชั้นสีที่ทาบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เมื่อทำการหาสภาวะในการทาสีที่ก่อให้เกิดรอยแตกต่ำที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่เป็นไปได้ในกระบวนการผลิต พบว่ากระบวนทาสีต้องถูกควบคุมให้มีความชื้นของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ 11.5%RH ความโค้งงอของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ 0 มม. และความหนาของชั้นสีจริงที่ทาบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ 3 มม. ด้วยการใช้สภาวะดังกล่าว ส่งผลให้สัดส่วนผลิตภัณฑ์บกพร่องประเภทสีแตกร้าวบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ลดลงจาก 4.84% เป็น 1.17%

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)