สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตแผ่นใยไม้อัดที่ไม่มีตัวประสาน โดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง (Optimizing Condition for Manufacturing the Binderless Particleboard by Response Surface Methodology)
Keywords:
แผ่นใยไม้อัดที่ไม่มีตัวประสาน, ผงไม้ยางพารา, การออกแบบการทดลอง, พื้นผิวตอบสนอง, การอัดร้อน, Binderless particleboard, Rubberwood flour, Experimental design, Response surface, Hot pressAbstract
การออกแบบการทดลองแบบ Central composite design และวิธีพื้นผิวตอบสนองถูกประยุกต์เพื่อศึกษาผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูป และเพื่อหาสภาวะการขึ้นรูปที่เหมาะสมที่สุดของแผ่นใยไม้อัดที่ไม่มีตัวประสาน การขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างกระทำโดยใช้เครื่องอัดร้อน จากการทดลองพบว่า ระยะเวลาการอัดและอุณหภูมิมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความแข็งแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า ความแข็งแรงดัด และการดูดซับน้ำ และการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาการอัดและอุณหภูมิส่งผลให้การดูดซับน้ำลดลงอย่างชัดเจน แต่ความแข็งแรงดึงและดัดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามที่ระยะเวลาการอัดและอุณหภูมิสูงมากๆ พบว่าความแข็งแรงดึงและดัดมีค่าลดลงอย่างช้าๆ นอกจากนี้สมการถดถอยของความแข็งแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า ความแข็งแรงดัด และการดูดซับน้ำสามารถหาสภาวะการขึ้นรูปที่เหมาะสมที่สุดของแผ่นใยไม้อัดหนา 6 มิลลิเมตร ได้ดังนี้ การขึ้นรูปโดยใช้ระยะเวลาการอัดร้อน 25 นาที และอุณหภูมิ 207 oC เช่นเดียวกันพบด้วยว่าแผ่นใยไม้อัดที่ขึ้นรูปด้วยสภาวะที่เหมาะสมที่สุดนี้มีสมบัติที่ใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการทำนาย
Central composite design and response surface methodology were applied to study effect of conditions in forming and to optimize a condition for manufacturing the binderless particleboard. The sample panels were produced using a hot pressing machine. From the experiment, it was found that pressing time and temperature significantly affected the internal bond strength, modulus of rupture and water absorption. With increasing the pressing time and temperature clearly decreased the water absorption but increased the internal bond strength, modulus of rupture. However, at very high pressing time and temperature it was also found that the internal bond strength and modulus of rupture gradually reduced. In addition, regression models fitted of the internal bond strength, modulus of rupture and water absorption were used to optimize the condition for manufacturing the binderless particleboard with thickness 6 mm. The optimal condition found was the pressing time 25 minutes and temperature 207 oC. Likewise, the binderless particleboard made with this condition had good mechanical and physical properties that closely matched the model predictions.