สื่อการสอนและชุดปฏิบัติศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีในงานเชื่อม
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการสร้างสื่อการสอน เรื่องการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสี ในงานเชื่อม เพื่อมุ่งเสริมสร้างความรู้ความสามารถ ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนรู้ ทำให้ความเข้าใจเนื้อหาเป็นไปอย่างได้ผลที่สมบูรณ์ ทำให้ผู้ศึกษาเกิดความมั่นใจในการวิเคราะห์และตัดสินผลงานเชื่อม ซึ่งต้องสามารถนำทักษะการปฏิบัติงานไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมต่อไป จึงจำเป็นต้องใช้ชุดสื่อการสอนเพื่อวิเคราะห์ผลภาพถ่ายรังสีงานเชื่อม ที่ตอบสนองเป้ามายดังกล่าวได้โดยชุดสื่อการสอน ประกอบด้วย1. ชิ้นทดสอบสำหรับวิเคราะห์ หลักการพื้นฐานการถ่ายภาพรังสี ประกอบด้วย ชิ้นทดสอบพื้นฐาน จำนวน 4 ชิ้น2. ชิ้นทดสอบงานเชื่อมในลักษณะกำหนดสำคัญ ประกอบด้วย1) ชิ้นทดสอบงานเชื่อมสมบูรณ์ ไม่ปรากฏข้อบกพร่อง (Non-Defect)2) ชิ้นทดสอบที่ปรากฏข้อบกพร่องในงานเชื่อมที่สำคัญ 8 ลักษณะ3. ชุดฟิล์มถ่ายภาพรังสีของชิ้นทดสอบตามหัวข้อที่ 1) และ หัวข้อที่ 2)ผลการศึกษา จากประสิทธิภาพของชุดสื่อการสอนและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าชุดสื่อการสอนที่ประกอบด้วย ชิ้นทดสอบทั้งหมดที่สร้างขึ้นในโครงงานนี้ และผลภาพถ่ายรังสี สามารถตอบสนองลักษณะการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะชิ้นทดสอบงานเชื่อมสามารถเปิดเผยถึงข้อบกพร่องที่ตรวจพบในภาพ ถ่ายรังสีให้ปรากฏ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องในการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสี รวมถึงเงื่อนไขของเทคนิคการถ่ายภาพรังสีที่ควรตระหนัก
คำสำคัญ : การถ่ายภาพรังสี / ลักษณะไม่ต่อเนื่อง / ข้อบกพร่อง
Abstract
The study aims to develop an instructional multimedia concerning the analysis of radiographic films ofwelding test pieces as to enhance learners' comprehension an assist them to gain confidence in assessing the weldingquality and can apply on-the-job skills for real industrial tasks.The instructional multimedia set was composed of the followings :1. Four basic test pieces for analysis radiographic testing procedure.2. Welding test pieces demonstrating 8 types of defects.3. The radiographic films.As a result, the experts approved that the multimedia demonstration containing all these element models andthe radiographic products effectively support learners' instruction as the radiographic films revealed the elementdefects while the accuracy could be proved from the analysis procedure.
Keywords : Radiographic / Discontinuities / Defect