การศึกษาการใช้ทองแดงฝังในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก สำหรับเทอร์โมพลาสติก กลุ่ม Semi Crystalline
Abstract
บทคัดย่อ
ในงานฉีดพลาสติก จำนวนเวลาต่อรอบการฉีด (Cycle Time) กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ต้องสูญเสียไปกับเวลาที่ใช้ใน ขั้นตอนการหล่อเย็น ถ้าสามารถลดเวลาหล่อเย็นให้สั้นลงได้ จะทำให้ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นด้วย งานวิจัยนี้ได้เสนอผลการ ศึกษาหา วิธีการลดเวลาหล่อเย็นในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยใช้วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อเย็น ด้วยการใช้ทองแดงฝังเข้าไปใน แม่พิมพ์ ในการทดลองใช้การจำลองการฉีด โดยใช้โปรแกรมทางด้าน CAE เข้ามาช่วยเพื่อช่วยวิเคราะห์ และทำนายผลชิ้นงาน พิจารณาเงื่อนไขของ ค่าเวลาเย็นตัว (Time to Freeze) ค่าความลึกของรอยยุบตัว (Sink Mark Depth) ค่าการบิดตัว (Warpage) และค่าเวลาต่อรอบการฉีด (Cycle Time) กรณีศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้เลือกใช้พลาสติก PP (Polypropylene) ซึ่งเป็นพลาสติกใน กลุ่ม Semi Crystalline Thermoplastic จากผลการวิจัยพบว่า การใช้ทองแดงฝังในแม่พิมพ์จะช่วยลดเวลาต่อรอบการฉีดลงได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะช่วยลดการเกิดรอยยุบตัวได้ แต่การบิดตัวและโก่งตัวของชิ้นงานมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ซึ่งขึ้น อยู่กับ รูปร่างของชิ้นงาน และปริมาณของทองแดงที่ใช้ฝังในแม่พิมพ์
คำสำคัญ : คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์การไหลตัวของพลาสติก, รอยยุบตัว, การบิดตัว
Abstract
For plastic injection application, more than 50 percent of cycle time is loosen by the cooling process time. If the time of cooling process can be reduced, the productivity is expectly increased. This research aims to study on how to reduce the shortest time of cooling process. In this research the strategy is used to increase the efficiency of cooling system by means of incorporate copper into the mold. In the experiment the plastic injection is simulate by using CAE program to analysis and prediction of sample work piece. The setup condition parameters of experiment are considered such as time to freeze, sink mark depth, warpage, and cycle time. We select the poly- propylene (PP) type, which is the group of semi crystalline thermoplastic, to this experiment. From the result we found that incorporate copper into the mold can reduce 40 percent of cycle time for plastic injection system, and trend to reduce sink mark depth of work piece. In opposition, tendency of warpage and deflection characteristics is increased. This behavior is happen due to shape of work piece and quantity of copper incorporated to the mold.
Keywords : CAE for plastics analysis, sink mark depth, warpage