ศึกษาแรงจูงใจต่อการเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Authors

  • สมพิศ อยู่สุขสวัสดิ์ นักวิชาการศึกษา, ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักศึกษาต่อการเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตของวิทยาลัย เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเพื่อศึกษาภูมิหลังและโอกาสในการสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ทุกสาขาวิชาที่กำลังศึกษาใน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Chi-Square) เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย สถิติทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) ทดสอบสมมติฐานเพื่อการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า

1. แรงจูงใจของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแรงจูงใจด้านความมุ่งหมายของการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก คือ ด้านหลักสูตรหรือสาขาวิชา ด้านบทบาทของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และด้านเหตุผล ส่วนตัว 2. โอกาสในการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับภูมิหลังของนักศึกษาด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของ ครอบครัว และสาขาวิชาที่เข้าศึกษา แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังด้านเพศและสถานศึกษาเดิมของนักศึกษา 3. การ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแรงจูงใจของนักศึกษาที่เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ กลุ่มเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวที่แตกต่างกันไม่ทำให้แรงจูงใจของนักศึกษาแตกต่างกัน

คำสำคัญ : แรงจูงใจ, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

Abstract

The objective of this research was to study the students’ motivation in applying for the Bachelor of Engineering Technology of College of Industrial Technology at King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, and to study the students’ background and their chances to become graduated. The samples were 262 students who were the first year students of all disciplines in the Bachelor of Engineering Technology in the first semester on academic year 2005. Research method was questionnaire and the data were analyzed using statistic methods including frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson Chi-Square, t-test, one-way analysis of variance (ANOVA). The hypotheses were tested at the significant level of 0.05 by using the SPSS program. The findings of the research were 1. The general motivation of all students was found to be at a high level. The motivation regarding educational goal was found to be at the highest level. The curriculum or discipline, the role of College of Industrial Technology and the students’ personal reason were at a high level. 2. The chance of students to graduate was found to correlate with their background, the family income and the studying field. However it was not relate to the students’ gender and their former school. 3. The comparison of student’s motivations hypothesis testing of this research was found to be statistically significant at 0.05. Gender and family income students were found to be different while the students’ motivations were the same.

Keywords : Motivations, the Bachelor of Engineering Technology, College of Industrial Technology

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)