การใช้เศษโฟมมาทำวัสดุผสมหยาบมวลเบาในงานคอนกรีต

Authors

  • สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ ผู้ช่วยศาตราจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาขยะโฟมที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ โดยนำโฟมที่เหลือใช้มา ย่อยให้ได้ขนาดตามต้องการผสมกับปูนซีเมนต์ขึ้นรูปเป็นวัสดุผสมโฟมซีเมนต์ ทั้งนี้จะคำนึงถึงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของ คอนกรีตด้านเชิงกล แบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน คือ การหาความเหมาะสมในการนำโฟมมาเป็นมวลรวมทดแทนหิน อัตราส่วน น้ำต่อซีเมนต์ที่ใช้ 0.4, 0.5, 0.6 สัดส่วนผสมซีเมนต์:ทราย:โฟม คือ 1:0.5:3, 1:0.5:4, 1:0.5:5 โดยปริมาตร ทำการทดสอบกำลัง อัดมอร์ต้าที่อายุ 3, 7, 14 และ 28 วัน ตามลำดับ เลือกสัดส่วนผสมเพื่อทำคอนกรีต ใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ คือ 0.7 อัตราส่วน ซีเมนต์:ทราย:โฟม คือ 1:2.8:6.3, 1:2.2:5.3 โดยปริมาตรและทดสอบหากำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ที่อายุ 28 วัน

ผลการทดสอบอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของมอร์ต้า คือ อัตราส่วนของปูนซีเมนต์:ทราย:โฟม คือ 1:0.5:3 โดย ปริมาตรอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.5 ให้ค่ากำลังอัดที่ 28 วันเท่ากับ 4.52 เมกกะปาสคาล และเมื่อนำโฟมซีเมนต์มาผสม คอนกรีตโดยใช้สัดส่วนผสม 1:2.2:5.3 โดยปริมาตรและอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.7 ทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดที่อายุ 28 วัน ของคอนกรีตผสมโฟมซีเมนต์สามารถรับแรงอัดสูงสุดได้ 6.41 เมกกะปาสคาล โมดูลัสการแตกหัก เท่ากับ 1.42 เมกกะปาสคาล คำสำคัญ : โฟมซีเมนต์, คอนกรีต, มอร์ต้า

Abstract

The purpose of this study was to diminish foam problem that was unable to be dissevered naturally be itselt by bringing foam remained from using of be dissolved for forging as a rough combined material foam-cement. In this regard, engineering property of concrete in mechanical area would be considered. Testing was divided into two parts. Namely, finding out appropriateness in bringing foam to act as a rough combined mass for substituting rocks. Rare of water per cement was 0.4, 0.5, 0.6 Mixing of cement : sand : foam was 1:0.5:3, 1:0.5:4, 1:0.5:5 by capacity. Testing of morting pressing power was conducted at the age of 3, 7, 14 and 28 days respectively. Mixing proportion for concrete making was sleeted using ratio of water per cement, namely, 0.7. Ratio of cement : sand : foam was 1:2.8:6.3, 1:2.2:5.3 by weight and twisting to find or pressing force resestant power of cylindrical concrete with 15 cm, in diameter and 30 cm, in height at the age of 28 days was conducted.

Testing result of appropriate mixing ratio of mortar was ratio of cement : sand : foam, that was 1:0.5:3 by capacity. Ratio of water per cement was 0.5. Capacity of pressing power that was given at 28 days was 4.52 Megapascal and when cement foam had been brought to mix with concrete using mixing proportion 1:2.2:5.3 by weight and ratio of water per cement 0.7 to test pressing force resistant power at the age of 28 days of cement foam mixing concrete, it was able to receive maximum pressing force of 6.41 Megapascal, Modulus of breaking was 1.42 Megapascal.

Keywords : foam-cement, concrete, mortar

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)