การนำผลิตภัณฑ์ท่อโพลิไวนิลคลอไรด์ที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนใช้ในงานซีเมนต์มอร์ต้า

Authors

  • ขวัญเนตร สมบัติสมภพ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ณัฐวุฒิ มณีวรรณ์ นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พลสันต์ พุ่มใจศรี นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สำเริง ชูทอง นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำผลิตภัณฑ์โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride, PVC) ที่ใช้แล้ว มาหมุนเวียนใช้ในงานซีเมนต์มอร์ต้า เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยาก โดยการนำเอาท่อโพลิไวนิลคลอไรด์สีฟ้าที่ใช้แล้วไปย่อยแล้วนำมาผสมแทนที่ทรายในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 ถึง 40 เพื่อ นำไปเป็นวัสดุผสมของชิ้นงานทดสอบซีเมนต์มอร์ต้า จากนั้นนำไปบ่มในน้ำ 3-28 วัน ทำการทดสอบสมบัติทางกลและความเป็น ฉนวนความร้อน ผลการทดลองพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณโพลิไวนิลคลอไรด์ในชิ้นงานความสามารถรับแรงอัดประลัยลดลงอย่าง ต่อเนื่อง สำหรับการทดสอบในด้านการรับแรงดึง พบว่าเมื่อเพิ่มส่วนผสมโพลิไวนิลคลอไรด์ในซีเมนต์มอร์ต้าที่ปริมาณร้อยละ 20 ชิ้นงานทดสอบสามารถรับแรงดึงได้สูงสุด สำหรับการทดสอบการถ่ายเทความร้อนพบว่า เมื่อผสมโพลิไวนิลคลอไรด์เพิ่มมาก ขึ้นชิ้นงานทดสอบซีเมนต์มอร์ต้ามีความสามารถในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ พบว่าการเพิ่มระยะการบ่มซีเมนต์ มอร์ต้า มีผลต่อการเพิ่มและปรับปรุงสมบัติทางกลและสมบัติความเป็นฉนวนความร้อนของชิ้นงานซีเมนต์มอร์ต้าให้ดียิ่งขึ้น ผลการวิจัยจากบทความวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะในเบื้องต้นว่า การนำพลาสติกโพลิไวนิลคลอไรด์ที่ใช้งานแล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ ใหม่ในงานซีเมนต์มอร์ต้ามีความเป็นไปได้สูง

คำสำคัญ : ซีเมนต์มอร์ต้า, โพลิไวนิลคลอไรด์, การหมุนเวียนใช้ใหม่, สมบัติทางกล

Abstract

This work intended to incorporate recycled blue poly (vinyl chloride) (PVC) pipes, in form of granulated particles, into cement mortar in order to minimize the volume of plastic waste. The recycled PVC blue pipes were granulated and used to replace the sand content, ranging from 0 to 40% by weight, in the cement mortar, in order to produce mortar samples. Various water-curing times from 3 – 28 days were used and the mechanical and thermal insulation properties of the mortar-PVC composites were then evaluated. It was found that increasing PVC content resulted in a progressive reduction in the compressive strength. For tensile strength, PVC loading at 20% in cement mortar gave a maximum tensile strength. The cement mortar with PVC recyclates had better thermal insulation than that without recycled PVC. Finally, it was found that increasing the curing time improved the mechanical and thermal insulation properties of the cement mortar composites. The preliminary results in this work have shown that the use of PVC recyclates in cement mortar was possible.

Keywords : Cement mortar, poly (vinyl chloride), recycling, mechanical properties

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)