เตาไฟฟ้าสำหรับงานหัตถกรรม

Authors

  • ดำเนิน คงพาลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุรเดช ขวัญทอง เจ้าหน้าที่พัสดุ, สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องเตาไฟฟ้าในงานหัตถกรรมและเซรามิก มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ พัฒนาเตาไฟฟ้าในงาน หัตถกรรมและงานเซรามิกให้มีคุณภาพ ตามนโยบายของรัฐบาลให้มีโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากการทำอุตสาหกรรม ในงานหัตถกรรมและงานเซรามิก มีความจำเป็นต้องใช้เตาไฟฟ้าในการเผาผลิตภัณฑ์ ทำให้ลวดลายเกิดความสวยงามติดแน่น อย่างถาวรบนผลิตภัณฑ์นั้น
ในการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างเตาไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์ในงานหัตถกรรมและ งานเซรามิก โดยอาศัยพลังงานความร้อนจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดความร้อน การกำหนดขนาดความจุภายใน จำนวน อิฐมวลเบา คำนวณความยาวของขดลวดความร้อน ฉนวนป้องกันความร้อนและโครงสร้างภายนอกที่เป็นเหล็ก รวมไปถึงการ ประมาณราคา
คณะผู้วิจัยได้ออกแบบเตาไฟฟ้าด้วยการนำอิฐมวลเบามาวางบนพื้นคอนกรีต เพื่อกำหนดขนาดทั้งภายในและภายนอก ให้ตรงตามรูปแบบ ซึ่งจะใช้อุณหภูมิไม่เกิน 800 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 8 ชั่วโมงแรก จากนั้นจึงทำการเผาเตาจนถึงอุณหภูมิ 1280 องศาเซลเซียส ในวันรุ่งขึ้นในระยะเวลา 9 ชั่วโมง 30 นาที ผลการทดลองพบว่าเตาไฟฟ้ามีอุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ในการนี้คณะผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนขดลวดความร้อนที่พื้นเตาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ ล่างสุดได้รับความร้อนและสุกระอุดี และเกรงว่าความร้อนข้างเตาจะแผ่ความร้อนมายังศูนย์กลางเตาได้น้อย เตาไฟฟ้าที่ ออกแบบและได้พัฒนาจึงเป็นเตาที่ให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอเพราะมีตัวควบคุมอุณหภูมิ ที่สามารถตั้งเวลาในการเผา ด้วย ระบบอัตโนมัติ เมื่อยุติการเผาระบบอัตโนมัติจะตัดวงจรไฟฟ้าเอง โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาควบคุม ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วย ความสะดวก ปลอดภัย ไม่เกิดมลภาวะทางอากาศ ลดการตัดไม้ทำลายป่าและลดการสูญเสียเงินตราในการสั่งซื้อจาก ต่างประเทศอีกด้วย

Abstract

The objectives of the study of Electric Kiln for Craft Works are to design and develop the high quality electric kiln to respond the present government’s policy of OTOP project. The electric kiln should be beneficial to the productions of higher quality and more beautiful craft works.

In this study, the researcher team had designed the prototype of small size of electric kiln using electricity to produce the proper heat on heating coils. The proper aspects of the kiln were calculated to meet the needs; they were its internal capacity, an amount of light bricks, the length of heating coil, heat insulator component, external steel structure, and the cost evaluation.

The researcher team had designed the electric kiln by placing a number of light bricks on concrete base to form the designed internal and external outlines of the kiln. The testing process was begun gradually on the kiln components: baking at 800 degree Celsius along the first 8 hours, and later slowly increasing to be 1280 degree Celsius within 9.5 hours. The test result shown that the baking temperature of the kiln was higher than the defined one.

On this study, the researcher team had added more coils on the ready – built kiln to get higher baking temperature; this additional action resulted from the advice of the experts. The designed kiln then had more efficiency and stability because of its design, controlling equipments, and its automatic baking timer at the end of the baking process: electricity circuit could be open automatically. According to its designs, the running process could be convenient, secure, of no pollution, of no wood consuming, and also beneficial for monetary advantage of the country, as well.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)