การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยใช้เหง้ามันสำปะหลังเป็นเชื้อเพลิง
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภท Firm และประเภท Non- Firm ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อเลือกรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมทางการเงิน สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กโดยใช้เหง้ามันสำปะหลังเป็นเชื้อเพลิง จากผลการศึกษาทางการเงิน พบว่ารูปแบบสัญญาซื้อ ขายไฟฟ้าประเภท Firm จะให้ผลตอบแทนทางการเงินสูงกว่าประเภท Non-Firm โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิประมาณ 675 และ 441 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.55 และ 1.37 ตามลำดับ และอัตราส่วนผลตอบแทนภายในเท่ากับ ร้อยละ 16 และ 13 ตามลำดับ เมื่อนำผลการวิเคราะห์ทางการเงินของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภท Firm ไปทำการวิเคราะห์ความ ไว พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความไวมากที่สุด ได้แก่ ราคาเหง้ามันสำปะหลัง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความไวน้อยที่สุด ได้แก่ ราคาค่า ก่อสร้างโรงไฟฟ้า
คำสำคัญ : สัญญาซื้อขายไฟฟ้า, ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก, เหง้ามันสำปะหลัง
Abstract
The research was aimed to study the types of power purchase contract of the small power producer (SPP) using cassava rhizome. The power generation was sold though the SPP program that implemented by Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). The power purchase contracts of SPP were normally separated into Firm and Non-Firm contracts. The results of the financial study showed that Firm contract provided higher project’s return than Non-Firm contract with 675 and 441 million Baht of NPV respectively, 1.55 and 1.37 of B/C respectively and 16% and 13% of IRR respectively. From sensitivity analysis of Firm contract, it found that Cassava Rhizome price was the most sensitive factor and construction price was the least sensitive factor.
Keywords : power purchase contract, small power producer, cassava rhizome