การศึกษาอิทธิพลของแก๊สคลุมที่มีผลต่ออัตราการหลอมลึก ในการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุม

Authors

  • ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชัยวัฒน์ พันธุชาติ นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • โชคนิมิตร ขันธจันทร์ นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วิทยา อึ้งติ๊ดใช้ นักศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิพลของแก๊สคลุมที่มีผลกระทบต่อการการหลอมลึกของแนวเชื่อม โดยใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อาร์กอน ฮีเลียม แก๊สผสมระหว่างอาร์กอน 82 เปอร์เซ็นต์ กับคาร์บอนไดออกไซด์ 18 เปอร์เซ็นต์ และแก๊สผสมระหว่างอาร์กอน 95 เปอร์เซ็นต์ กับออกซิเจน 5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ลักษณะการหลอมลึกที่ที่แตกต่างกันออกไป ตามสมบัติของแก๊สแต่ละชนิดการดำเนินงานได้ทำการทดลองเชื่อมเหล็กกล้า ASTM A 36 ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุม ควบคุมด้วยหุ่นยนต์งานเชื่อมในช่วงกระแสเชื่อมที่เหมาะสมจากนั้นทำการทดสอบโครงสร้างมหภาคและทำการเปรียบเทียบลักษณะการหลอมลึกของแนวเชื่อมโดยการวัดขนาดความกว้าง ความลึก และความสูงของแนวเชื่อมตลอดจนพื้นที่หน้าตัดของแนวเชื่อมด้วยโปรแกรม Motic Image Plus 2.0 MLผลการดำเนินงานวิจัยสามารถทราบถึงข้อแตกต่างของแก๊สคลุมที่ใช้ในการเชื่อมเหล็กชนิดเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกัน เมื่อทำการเปรียบเทียบขนาด และรูปร่างของแนวเชื่อมเมื่อใช้แก๊สคลุมต่างกัน ผลที่ได้จากการทดสอบ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะให้การหลอมลึกดีที่สุด เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะนำความร้อนได้ดี จึงส่งผลทำให้ความร้อนไปยังชิ้นงานได้มาก และให้การหลอมลึกได้ดี เมื่อเทียบกับแก๊สคลุมชนิดอื่นที่พารามิเตอร์เหมือนกัน

คำสำคัญ : การเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุม, ASTM A36, คาร์บอนไดออกไซด์, อาร์กอน, ฮีเลียม, อัตราการหลอมลึก

 

Abstract

This study of the influence of gas shield to the deep penetration of bead; it would be applying carbondioxide, argon, helium, gas mixture of 82 percent of argon and 18 percent of carbon dioxide and gas mixture of 95percent of argon and 5 percent of oxygen on the study. The resultant deep penetration would be different depending onthe properties of gasesThe operation would be done on the welding test of ASTM A 36 steel with Gas Metal Arc Welding processcontrolled by welding robot at proper current. The test of the macro structures then was done and compared the deeppenetration of bead; the measurement of width, depth, height, and cross section area of bead would be done using MoticImage Plus 2.0 ML.It was found from the study that the different welding gas shield applied on the same metal could givedifferent comparative results of size and shape of the weld metals; applying carbon dioxide could give the best deeppenetration because of its high heat conductivity could completely spread heat to all parts of work piece; it resulted inbetter deep penetration compared to other gases with similar parameters.

Keywords : Gas Metal Arc Welding, ASTM A36, Carbon dioxide, argon, helium, melting rate of weld metal

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)