การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกการเรียนรู้พื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริมวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

Authors

  • เอิบศรี ตุษยะเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนจากการใช้แบบฝึกการเรียนรู้ เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ ทางคณิตศาสตร์ และการสอนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการสอนตามปกติสำหรับรายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 9 สาขาวิชา ที่ สอบเข้าเรียนได้ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 136 คน และที่สมัครเข้าร่วมโครงการปรับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในช่วง ก่อนเปิดภาคเรียน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การทดสอบทั้งในส่วนของคะแนนความรู้พื้นฐานและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียนโดยการคำนวณคะแนนผลต่างระหว่างคะแนนพื้นฐานที่สอบก่อนใช้ชุดแบบฝึกปรับพื้น ฐานความรู้ และหลังการใช้ชุดแบบฝึกดังกล่าว และหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนพื้นฐานที่ ผ่านการปรับพื้นฐานแล้ว คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้พื้นฐานก่อน-หลังการใช้แบบฝึก ทักษะการเรียนรู้ ด้วยสถิติทดสอบที (t-test) และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้พื้นฐานที่ได้รับการปรับแล้วกับ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment) นำเสนอ ความสัมพันธ์ด้วยค่าสหสัมพันธ์และเส้นโปรไฟล์(profile) การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows 12.0 ผลการวิจัยสรุปได้คือ 1.ผลการปรับพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรม ชั้นปีที่ 1 ด้วยการใช้ แบบฝึกการเรียนรู้เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ พบว่า กลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเพิ่มขึ้นจาก ก่อนการเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2.ความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สอนโดยวิธีปกติร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนเฉลี่ย 14.39 จาก คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีความสัมพันธ์ทางบวก (0.656) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กับคะแนนความรู้พื้นฐาน ลักษณะดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงหลักฐานประการหนึ่งว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิศวกรรม 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการสอนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริมการสอนตามปกติ

Abstract

The research aims to investigate the learning progress from applying the practice module for enhancing basic Math as well as the instruction applying CAI along with traditional class method for the course Engineering Mathematics 1. The sampling population included 4-year undergraduate engineering students from 9 majors in the academic year 2003. From the total 300 students who joined Math improvement program during the summer time, the sampling group of 136 students volunteered to participate in the project. The subjects were tested for their basic knowledge score and achievement score. The progress was indicated by the difference between the former score gained before practice with the module and the achievement score gained after such practice. The correlation between the achievement score and basic score would be analyzed afterwards. The t-test was conducted to compare the two means while their relationship was tested by Pearson's Product Moment. The relationship was presented by a profile line. The data was analyzed by SPSS for Windows 12.0 and the results are as follows: 1. Basic Math scores of the students joining the project were significantly higher than the scores gained before participation (p<.001). 2. The average progress of the sampling population being instructed by traditional class method combining with CAI was 14.39 from the total of 40 points, with 0.656 positive relationship with the basic knowledge score (p<.001), revealing that the progress in Engineering Math 1 could be explained by the method of traditional training in connection with additional Computer Assisted Instruction.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)