การใช้เศษโฟมเก่าในคอนกรีตบล็อกประดับ

Authors

  • สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิงแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • จำรูญ หฤทัยพันธ์ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันในประเทศไทยมีเศษโฟมเก่าเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาทางมลภาวะที่สำคัญของประเทศ หาก สามารถนำเศษโฟมเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ จะเป็นการลดปริมาณขยะลงได้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเศษโฟมเก่ามาผสมกับ คอนกรีตแทนที่มวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียด ในการทำคอนกรีตบล็อกประดับ

จากผลการวิจัยการผลิตคอนกรีตบล็อกประดับ ปรากฏว่าได้อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ปูนซีเมนต์ : ทราย : โฟม เท่ากับ 1:0.5:4 และ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.5 ความดันประมาณ 275 กก/ซม2 จะได้ความหนาแน่น ประมาณ 1400 กก/ม3 ผล การทดสอบที่อายุ 28 วัน ปรากฏว่า ได้ค่ากำลังอัดเฉลี่ยเท่ากับ 58.92 กก/ซม2 ความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 1416.5 กก/ม3 ค่าการดูดซึมน้ำเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.73 และใช้ความดันในการอัดขึ้นรูปที่ 275 กก/ซม2 ผลการทดสอบการนำความร้อน ได้ค่า การนำความร้อนเท่ากับ 0.0367 วัตต์/เมตร.เคลวิน และ ค่าความต้านทานความร้อนเท่ากับ 27.24 เมตร.เคลวิน/วัตต์

จากผลการวิจัยสรุปคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกประดับได้ว่า เป็นวัสดุก่อสร้างผนังที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนัก ได้ มีน้ำหนักเบา ป้องกันการซึมผ่านน้ำได้ดี และมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ซึ่งสามารถนำไปก่อสร้างอาคารได้จริง

Abstract

Now a day in Thailand, we have enormous amount of foam dumped as refuse and this could be counted as a major pollution in the national level. To solve the problem, recycling is one way to look for an answer. If foam can be recycled, this will greatly reduce the amount of garbage.

This research is concerned with feasibility of mixing refusal foam with concrete mixture, while replacing coarse and fine mass in the concrete itself, This research aims to manufacture facing brick. We can conclude that the ratio needed in order to manufacture facing brick is cement : sand : foam = 1:0:5:4 and the ratio of water to cement is 0.5 with the compression of 275 kg/cm3 and the density of 1400 kg/m3.

After 28 days of test, it shows that the compressive strength yields the result of 58.92 kg/cm2. Also, the average density returned is 1416.5 kg/m3 and the average water absorbtion ability is 7.73%. Moreover, the compression needed for shaping the block is 275 kg/cm2. We can conclude that the heat conducting value is 0.0367 W/m.k and the heat insulating value is 27.24 m.k/W. This research demonstrates that the facing brick is a powerful light-weighted constructing material that can holds heavily loads and performs a very well function in absorbing water and preventing from water getting through. Also, it acts as a good insulator. At last, these facing brick finally prove themselves to be suitable for future buildings.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)