การศึกษาการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง ในสภาวะการใช้งานจริง

Authors

  • ลิขิต ใสหนู อาจารย์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมมาส แก้วล้วน อาจารย์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิชัย อัษฏมงคล อาจารย์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการสึกหรอของเครื่องยนต์เมื่อใช้เชื้อเพลิงเอทานอลบริสุทธิ์ 95% ในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน เครื่องยนต์ที่ใช้ในการทดสอบคือเครื่องยนต์แก๊สโซลีนเล็กสูบเดียว 4 จังหวะ HONDA รุ่น GX160 K1QT จำนวน 2 เครื่องโดยเครื่องหนึ่งใช้กับเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนและอีกเครื่องหนึ่งใช้กับเชื้อเพลิงเอทานอล ซึ่งใน เครื่องยนต์ที่ใช้กับเชื้อเพลิงเอทานอลมีการดัดแปลงเครื่องยนต์เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเชื้อเพลิงเอทานอลได้ คือเพิ่มขนาดของ Main jet ในคาร์บูเรเตอร์จากเบอร์ 72 เป็น 75 และปรับโช้คอากาศให้เปิดที่ 25% การทดสอบการสึกหรอของเครื่องยนต์ ทำการ ทดสอบที่ความเร็วรอบคงที่ที่ 3000 รอบต่อนาที และที่ภาระงาน 50% ของภาระงานสูงสุด (1.20 กิโลวัตต์) เป็นเวลา 460 ชั่วโมง วิเคราะห์ผลจากสภาพการทำงานและการวัดขนาดของชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ก่อนและหลังการทดสอบ จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าการสึกหรอของเครื่องยนต์จากการวัดขนาดของชิ้นส่วนหลักของของเครื่องยนต์ทั้งสองมี นัยสำคัญเดียวกัน เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมแล้วเอทานอลสามารถใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาดเล็กได้ในสภาวะงานจริง โดย ดัดแปลงเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อย

คำสำคัญ : การสึกหรอของเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงเอทานอล

Abstract

The objective of this project was to investigate the wear of a spark-ignition engine when using 95% ethanol as a sole fuel. The test engines were 4-stroke small gasoline engines (HONDA model GX16K1QT). The control study was performed using gasoline as a fuel without engine modification. However, in the engine wear study using ethanol, engine modifications were made i.e. changing a main jet size from No. 72 to No. 75 in the carburetor and altering an air choke to 25% of fully open. The engines were run at a speed of 3000 rpm with a half load of 1.2 kW. The running period was 450 hours. The method of evaluating engine wear was to measure the dimension of the engine components before and after the test. The results show that they were no significant difference in dimension of the two test engines main parts. Therefore, ethanol can be used as a substitute fuel for small engines with some engine modifications.

Keywords : engine wear, ethanol fuel

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)