การศึกษาความเป็นไปได้ของเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่าย

Authors

  • สำรวย ภูบาล อาจารย์, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พิชัย นามประกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อมและวัสดุ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปรีดา จันทวงษ์ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่าย (SSEWS) ทำการศึกษาพัฒนา เครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่ายรูปแบบใหม่ไม่หุ้มฉนวนด้านข้าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรับรังสีอาทิตย์ให้มากขึ้น อีกทั้ง ต้นทุนในการสร้างต่ำและง่ายต่อการบำรุงรักษา มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบอ่าง ฝาครอบกระจกใสหนา 3 มิลลิเมตร เอียงลาดด้าน เดียวทำมุม 14 องศา ส่วนด้านข้างและหลังเป็นแผ่นอคริลิคใสหนา 4 มิลลิเมตร มีพื้นที่ตัวรับแสงอาทิตย์เป็นแผ่นทองแดงทาสีดำ ขนาดประมาณ 0.85 ตารางเมตร หนา 0.8 มิลลิเมตร โดยทำการเปรียบเทียบผลของอัตราการกลั่นและประสิทธิภาพระหว่างเครื่อง กลั่น SSEWS กับเครื่องกลั่นแบบแนวนอน แนวตั้งอคริลิคและแนวนอนกระจกใส และเปรียบเทียบกับแบบการคำนวณ จากการ ทดลองพบว่าเครื่องกลั่น SSEWS สามารถกลั่นน้ำได้อัตราการกลั่นเฉลี่ยรายวันและรายชั่วโมง 2.4 และ 0.2 ลิตรต่อตารางเมตร ตามลำดับโดยวันที่ทำการทดสอบมีค่าความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ยรายวัน 17.1 เมกะจูลต่อตารางเมตร จากการเปรียบเทียบผลของ เครื่องกลั่น SSEWS กับเครื่องกลั่นแบบอื่น ๆ พบว่า แบบ SSEWS มีประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 4.0 – 23.7 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย และจากการเปรียบเทียบระหว่างการคำนวณกับการทดลอง พบว่า มีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงสามารถใช้แบบการคำนวณประมาณ ค่าต่าง ๆ ของระบบได้

คำสำคัญ : เครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

Abstract

This article discusses a feasibility of a simple solar energy water still basin (SSEWS). The researchers developed a new simpler model without foam insulators on the side for more solar exposure results. At low costs, the developed model was also designed to be easy to maintain. The water still basin was equipped with a 14 degree inclined glass cover and with 4 millimeters thick acrylic plates on its sides and at the back. The solar exposure area was a 0.8 millimeters thick copper plate painted black with the area of 0.85 square meters. The results from the experiments revealed that, in comparing to horizontal still, vertical acrylic cover, and glass cover, the distillation rate from the SSEWS was found to be more efficient at approximately 4.0- 23.7 percent. The daily and hourly distillation rates were approximately 2.4 and 0.2 liters per square meters, with a solar quantity of about 17.1 mega-joules per square meters on the experiment days. Moreover, the distillation rates gained from the calculations were found to be similar to the results from the experiments. Therefore, it can be concluded that the calculations can be used to predict the water still system.

Keywords : Solar Energy Water Still

Downloads

Published

2012-11-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)