วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Authors

  • มานพ ชูนิล รองศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พิสมัย รักจรรยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชวนีย์ พงศาพิชณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชามนุษยศาสตร์ , คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด วิธีการจัดการ ความเครียด และปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียดของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความเครียดของ กรมสุขภาพจิต ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับปกติร้อยละ 51.43 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดอันดับหนึ่ง คือ กลัวอ่านหนังสือไม่ทัน ร้อยละ 89.7 อันดับสอง คือ กลัวทำข้อสอบไม่ได้ ร้อยละ 89.5 วิธีการจัดการความเครียดที่ใช้กันมากอันดับ หนึ่ง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 97.5 อันดับสองคือ ทำจิตใจให้สงบ ยอมรับสถานการณ์ ปล่อยวาง ปลงให้ได้ ร้อยละ 90.2 ปัญหาที่ประสบในการจัดการความเครียด อันดับหนึ่ง คือ ขี้เกียจและง่วงนอนอยู่เสมอ ร้อยละ 73.4 เมื่อเปรียบเทียบระดับ ความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาการจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาจำแนกตามปัญหาการสอบ การคบเพื่อน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ ด้านการเงิน และด้านการงาน พบว่า มีระดับความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : ความเครียด, วิธีการจัดการความเครียด

Abstract

The purpose of this survey research is to study the level of students’ stress, factors affecting their stress, and techniques and problems in managing stress. The sample group was 478 undergraduate students at King Mongkut’ s Institute of Technology North Bangkok. A questionnaire including a stress assessment test from the Mental Health Department was employed in the data collection. The results showed that most students encountered stress in normal level (51.43%). The first factor affecting their stress was being unable to complete reading tasks on time (89.7%), the second was worry that they could not handle tests (89.5%), The methods used most frequently to cope with stress were watching movies, listening to music and watching television (97.5%), followed by making their mind calm, accepting the situations and letting go (90.2%). The problems in managing stress were their laziness and drowsiness (73.4%). The students who had different personal characteristics, learning problems , traffic problems and environment problems did not have different amount of stress. The students who had problems in terms of examination, their relationship with friends and lovers, family, health, money and work, and those who did not have these problems had different amount of stress with a statistical level of 0.05 .

Keywords : Stress, Stress Management

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)